[ ความล้มเหลวของค่าแรงขั้นต่ำ และ รัฐสวัสดิการ #EP1 ]
ในปัจจุบัน กลุ่มสหภาพแรงงานที่เรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำต่อชั่วโมงให้เพิ่มมากขึ้นมักจะมาพร้อมเหตุผลต่าง ๆ ซึ่งเหตุที่ว่านี้มักจะสัมพันธ์กับรัฐ และ ทำให้รัฐออกกฎหมาย ทำให้นายจ้างต้องทำตามโดยการจ่ายค่าแรงตามที่กฎหมายกำหนด ในขณะเดียวกันนั้น ความล้มเหลว และ ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเหตุผลของพวกสหภาพแรงงานคือ การระบาดของการกล่าวถึงรัฐสวัสดิการของกลุ่มคนที่เคลื่อนไหวทางการเมือง และ ปรารถนาแนวทางสังคมนิยม (สังคมนิยมประชาธิปไตย) และในหลาย ๆ ครั้งถึงแม้ว่าวาทศิลป์ของกลุ่มคนเหล่านี้ว่าด้วยการช่วยเหลือคนจนมันก็อาจจะเป็นเรื่องที่ดี แต่มันสร้างผลลัพธ์ที่เลวร้าย ซึ่งไม่ใช่แค่ส่งผลร้ายต่อผู้ประกอบการและบริษัทแต่ยังเป็นคนที่ถูกจ้างงานคนอื่น ๆ อีกด้วย ในบทความนี้จะแบ่งเป็นสองส่วนก็คือ ว่าด้วยเรื่องค่าแรงขั้นต่ำและรัฐสวัสดิการ
“Minimum wage laws are job-killing policies that create barriers to prosperity and fail to reflect the most basic understanding of supply and demand economics,” says Lee Ohanian, an economist at the Hoover Institution.
เริ่มต้นในบทเนื้อหาเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่ารากฐานทางเศรษฐศาสตร์ผลกระทบที่ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานจากการเลิกจ้าง เกิดจากการไม่มีทักษะความสามารถมากพอเมื่อเทียบกับคนที่ทำงานได้รับเงินต่อเดือน เช่น ผู้จัดการ, ผู้ประกอบการ, คนทำบัญชี, นักการตลาด เป็นต้น สำหรับแรงงานที่ถูกจ้างเป็นต่อชั่วโมงหรือต่อวัน (อาจ) ถูกพิจารณาว่าทักษะดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องคงไว้ในค่าแรงขั้นต่ำและต้องจ่ายเงินตามกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำกำหนดไว้ให้เป็นมาตรฐานเนื่องจากพวกเขาไม่มีประสบการณ์ และ ไม่ได้ใช้ความสามารถที่มาก มันจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการ “เลิกจ้างงาน และ ทำให้เกิดการว่างงาน” (unemployment) ขึ้น โดยปัจจัยหลัก ๆ มาจากผลผลิตที่ทำกำไรได้นั้นน้อยกว่าค่าแรงในเงื่อนไขข้อตกลง หรือกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำที่กำหนดมาตรฐาน มันจึงเกิดตัวเลือกที่ว่าถ้าหากผู้ประกอบการจำเป็นที่จะรักษาผลประโยชน์ของบริษัทที่ต้องรับความเสี่ยงมากกว่าแรงงานที่ พวกแรงงานจำนวนหนึ่งหรือทั้งหมดจึงจะต้องถูกคัดออก แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากผลผลิตสูง (increased marginal productivity) ธุรกิจก็จะทำกำไรได้มาก (increased profits) ผลที่ออกมาก็คือ ธุรกิจก็จะสามารถตั้งค่าแรงต่อชั่วโมงให้มากขึ้นซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะได้กำไรมากเท่าไหร่ (กล่าวคือ ผลผลิตกำหนดอัตราค่าแรง) แต่ในขณะเดียวกันนั้น การเพิ่มค่าแรงตามกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำเป็นกรณีศึกษาว่าด้วยปัญหา 1.) เรื่องการว่างงานเป็นผลจากการที่ภาครัฐต้องการที่จะ “อุ้มชู” เพื่อให้การเมืองมามีบทบาทต่อปัญหาโดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ที่ตามมา และ 2.) รวมไปถึงการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำที่ไม่ได้สร้างผลลัพธ์ที่ดีต่อธุรกิจและต่อตัวแรงงานเอง เมื่อเร็ว ๆ นี้ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน ได้ประกาศให้สัญญาว่าจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจาก $7.25 เป็น $15 ต่อชั่วโมง นี้เป็นตัวอย่างของความล้มเหลวที่รัฐเข้ามาแทรกแซงตลาดในปัจจุบัน และ ไม่ใช่ตัวอย่างแรกที่เกิดขึ้นในอเมริกาที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่แย่ที่กล่าวข้างต้น
โดยสรุปแล้วค่าแรงขั้นต่ำกับการว่างงาน; การที่ให้แต่ล่ะบุคคลมีชีวิตที่ดีเป็นเรื่องที่ดีที่มีค่าจ้างที่มากขึ้น แต่ปัญหาของกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำคือ ผู้ประกอบการจะไม่สามารถจ่ายเงินให้กับแรงงานมากกว่ามูลค่าของผลิตภัณฑ์ (the value of the product) ที่แรงงานผลิตขึ้นมาต่อชั่วโมง (อาทิเช่นธุรกิจได้กำไรประมาณ ประมาณ $10 ต่อสิ่งที่แรงงานผลิตได้จากนั้น ผู้ประกอบการไม่สามารถจ่ายเงินให้กับแรงงานมากกว่าจำนวน $10 ที่ว่านั้นได้) หรือ ถ้ากฎหมายค่าแรงขั้นต่ำกำหนดว่าต้องจ่ายประมาณ $15 ต่อชั่วโมงในขณะที่แรงงานผลิตสินค้าหรือบริการออกมา (outputs) ทำกำไรได้น้อยกว่า 15$ ต่อชั่วโมงมันจะเป็นการทำผิดกฎหมายที่ถ้าหากธุรกิจไม่จ่ายเงินตามที่กฎหมายกำหนด ด้วยเหตุนี้เอง ในสถานการณ์ที่ว่าธุรกิจมีตัวเลือกไม่กี่อย่าง หนึ่งในนั้นก็คือการใช้ “การเลิกจ้างงาน” เนื่องจากแรงงานที่ทำงานและได้ค่าจ้างตามกฎหมายกำหนดต่อชั่วโมงจะเป็นการบ่อยทำลายกำไรที่ธุรกิจควรจะได้ และ กำไรที่ควรจะให้กับแรงงานตามความเป็นจริงตามความสามารถที่จะให้ได้ ด้วยเหตุนี้มันเป็นการไปเพิ่มส่วนของทุนสินค้า กล่าวคือ เป็นการยกระดับ และ การขยายโครงสร้างขั้นพื้นฐานของแรงงานที่จะทำให้มีประสิทธิผลตามค่าแรงต่อชั่วโมงที่สูงขึ้นของแรงงาน และ คงกำไรหรือขยายให้ธุรกิจอยู่รอดได้
Bibliography
Mueller, Antony P. Ten Fundamental Laws of Economics. Auburn, AL: Mises institute, 2016.
Ohanian, Lee. The Implications Of A Minimum Wage. Stanford, CA: Hoover Institution at Stanford University, 2020.
Shostak, Frank. Understanding Minimum Wage Mandates: Empirical Studies Aren’t Enough. Auburn, AL: Mises institute, 2021.