[ ความล้มเหลวของค่าแรงขั้นต่ำ และ รัฐสวัสดิการ #EP2 ]
ถ้าอ้างอิงตามกลุ่มกิจกรรมการเมืองที่ต้องการสนับสนุนให้มีรัฐสวัสดิการ และ สังคมประชาธิปไตย (social democracy?) นโยบายรัฐสวัสดิการคือระบบที่รัฐบาล “จำเป็น” ต้องทำเพื่อเป็นหลักประกัน และ ให้ความช่วยเหลือพลเมืองในสังคม โดยหลัก ๆ แล้วเพื่อช่วยเหลือ และ สร้างความเท่าเทียมด้านโอกาสกับความเป็นอยู่ที่ดี – ในขณะเดียวกันก่อนที่รัฐบาลที่ว่าจะสร้างนโยบายอย่างว่า รัฐบาลนั้นก็ต้องหาความหมาย และ จุดมุ่งหมายของการทำรัฐสวัสดิการว่าควรจะส่งผลลัพธ์ยังไงกับพลเมืองของประเทศตน รัฐบาลบางประเทศอาจจะให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมของการกระจายความมั่งคั่ง — ส่วนใหญ่แล้วนโยบายเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือพลเมืองในด้านต่าง ๆ เช่น การว่างงาน, ค่าชดเชยการว่างงาน หรือการช่วยเหลือผู้คนที่ไร้ความสามารถ
ที่กล่าวมาข้างต้น มันคือแนวคิดแบบ “Third Way” – “Third Way” ในที่นี้คือระบบนโยบายทางเศรษฐกิจที่ถูกหยิบยกมาโดย นักการเมือง และ นักวิชาการ ที่ทำให้สนับสนุนรัฐสวัสดิการ ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาคือรัฐสวัสดิการถูกแพร่กระจายไปทั่วโลก (Third Way คือระบบที่ขับเคลื่อนด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมกับรัฐสวัสดิการที่สร้างความเท่าเทียมให้กับสังคม หรือที่เรียกว่า “ตลาดเสรีแบบผสม” (mixed free-market economy) ผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น อัตราภาษีที่สูงเพื่อที่จะรับรองคุณภาพชีวิต และ ช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่ต่ำลง)
ตัวอย่างรัฐสวัสดิการที่มีปัญหา: รัฐสวัสดิการที่ล้มเหลวอย่างเห็นได้ชัดก็คือ รัฐสวัสดิการในประเทศบราซิล และ ประเทศอาเจนติน่า ซึ่งในฐานข้อมูลรัฐสวัสดิการที่มีการรวบรวมข้อมูลเอาไว้ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1970s รัฐสวัสดิการที่ดำเนินในลาตินอเมริกา (บราซิล และ อาเจนติน่า) มีอย่างน้อย 2 แบบคือ
1.) ระบบรัฐสวัสดิการที่ให้ผลประโยชน์แก่ภาคส่วนสาธารณะ โดยที่รัฐสร้างสิทธิทางสังคมกับทุกคนเพื่อให้เข้าถึงทรัพยากร และ ทุน (Nordic style);
2.) ระบบรัฐสวัสดิการแบบคู่ (dual system) ที่มีการดูแลคนจน (เช่น ระบบสาธารณะสุข และ เงินบำนาญ) และ การสนับสนุนการเติบโตของระบบเศรษฐกิจเยอรมันโดยรัฐ (German model) ทำให้นโยบายนี้มีผลต่อรายได้ภายในประเทศที่สูงขึ้น
ตามข้างต้นเมื่อเทียบกับ GDP per capita ของประเทศลาตินอเมริกากับประเทศทั่วโลก จะเห็นได้ชัดถึงตวามล้มเหลวของรัฐสวัสดิการ กล่าวคือหลังจากต้นทศวรรษที่ 1970s ลาตินอเมริกาสูญเสียส่วนแบ่งรายได้เชิงเปรียบเทียบ (relative income share) ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจขาดความต่อเนื่องใน ผลที่ออกมาคือประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจที่ต่ำลง สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนถึงความล้มเหลวที่สุดก็คือการที่ประเทศที่มีรัฐสวัสดิการขาดความต่อเนื่องทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายสาธารณะ (public spending) ที่สูงขึ้นที่สัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายรัฐสวัสดิการที่เพิ่มมากขึ้น (การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายสาธารณะโดยเฉพาะในด้านรัฐสวัสดิการเป็นการเพิ่มหนี้สาธารณะอย่างมหาศาล)
ในขณะเดียวกัน สำหรับประเทศยุโรปที่ใช้ระบบทุนนิยมประชาธิปไตย (democratic capitalism) นั้น สามารถสร้างรัฐสวัสดิการได้ในจำนวนมาก แต่ก็มาพร้อมกับความล้มเหลวในระยะยาว: ตั้งแต่จบสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลประเทศยุโรปตะวันตกได้สร้างนโยบายรัฐสวัสดิการ เช่น นโยบายกระจายรายได้ และ สร้างกฎหมายเพื่อปกป้องผู้ใช้แรงงานกับผู้บริโภค — นับตั้งแต่ยุค 1960s เป็นต้นไป ประเทศยุโรปมีอัตราภาษีเพิ่มสูงขึ้น, กฎหมายป้องกันทางเศรษฐกิจก็ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมเติบโตช้าลง และ ท้ายที่สุด นโยบายรัฐสวัสดิการก็ได้การกลายเป็นกำแพงกีดขวางความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งผลร้ายจากรัฐสวัสดิการที่ว่าก็ทำให้เศรษฐกิจในยุโรปซบเซาจนถึงปัจจุบัน โดยปัจจุบัน มักจะมีการเรียกร้องให้ปฏิรูปเศรษฐกิจอยู่เสมอ
คำถามคือ การที่รัฐบาลสร้างนโยบายสวัสดิการโดยเพิ่มค่าใช้จ่ายสาธารณะเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมีผลลัพธ์ที่ดีหรือไม่? คำตอบก็คือ “ไม่”
จากหลักฐานที่พบ ประเทศในลาตินอเมริกามีความล้มเหลวด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากรัฐสวัสดิการ: เมื่อเทียบกับยุค 1990s แล้ว บราซิลตกต่ำลงหลังสร้างนโยบายรัฐสวัสดิการ และ เกิดความซบเซาทางเศรษฐกิจในปี 2015 การเติบโตของ GDP ดิ่งลงถึง -3.8 % ซึ่งมองตามความจริงแล้วถือเป็นวิกฤตที่เลวร้ายที่สุดตั้งแต่ยุค 1990s — ในส่วนของสกุลเงินของประเทศก็ประสบปัญหาค่าเงินลดครั้งใหญ่ โดยอัตราการแลกเปลี่ยนจาก เรอัลบราซิล ต่อ ดอลล่าสหรัฐจาก 1.829 ในปี 2000 กลายเป็น 3.327 ในปี 2015 — โดยอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.65 % ในปี 1998 และ ตีสูงขึ้นมาถึง 10.67 % ในปี 2015
ในส่วนอาเจนติน่าแทบจะไม่แตกต่างกันมากกับบราซิล การเติบโต GDP อยู่ที่ 6 % ในปี 2011 ในที่สุดก็ดิ่งลงเหมือนบราซิลไปอยู่ที่ -2.51 % ในปี 2018
เมื่อเราทราบแล้วว่าโมเดลรัฐสวัสดิการในลาตินอเมริกาล้มเหลว แต่ทำไมนักการเมืองหรือกลุ่มนักวิชาการเรื่องรัฐสวัสดิการถึงเอาเรื่องรัฐสวัสดิการมาชูโรง และ ทำให้รัฐบาลใช้จ่ายเพื่อมันมากขึ้นอยู่เสมอ สิ่งที่สำคัญคือรัฐสวัสดิการไม่ได้สร้างผลประโยชน์ใด ๆ หนึ่งเหตุผลก็คือ คนเหล่านี้มักจะสนับสนุนรัฐสวัสดิการจนถึงตอนสุดท้ายเมื่อเศรษฐกิจพัง คนเหล่านี้มันก็หันไปตำหนิระบบตลาดเสรีทุนนิยมแทน คนเหล่านี้มักจะหาข้อแก้ตัว และ สาเหตุอื่น ๆ มาแก้ตัวเพื่อไม่ให้รัฐสวัสดิการดูแย่ ทำให้คนเหล่านี้มีที่ยืนในสังคมตอนที่พวกมันพูดถึงความฝันที่ใคร ๆ ก็อาจจะหลงเชื่อ และ คนเหล่านี้ก็อยู่ได้ด้วยการมโนภาพถึงความสำเร็จรัฐสวัสดิการที่ส่งต่อ ๆ กันผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย – ท้ายที่สุดแล้วความจริงก็คือความจริง: นโยบายรัฐสวัสดิการที่เป็นความสำเร็จครึ่ง ๆ กลาง ๆ ในยุโรปที่ส่งผ่านมายังประเทศลาตินอเมริกาก่อเกิดความล้มเหลว ส่วนในยุโรปตะวันตกเอง อยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้เพราะความต่อเนื่องของเสรีภาพในตลาด ไม่ใช่รัฐสวัสดิการแต่อย่างใด
ความเป็นจริงของโลกคือมนุษย์ไม่สามารถทำทุกอย่างให้เพอร์เฟคเป้ะได้หมด ทุกอย่างต้องมีการแลกมาด้วยเงิน, งาน, ความชอบ และ อื่น ๆ อีกมาก ในด้านของรัฐสวัสดิการที่กล่าวมาคือมนุษย์ในสังคมนั้น ๆ ต้องแลกมันมาด้วยภาษีที่รัฐเก็บมากขึ้น — อีกประเด็นคือรัฐปล้นเงินของบุคคลแต่ละคนโดยไม่คำถึงผลลัพธ์ที่ย่ำแย่ของรัฐสวัสดิการ และ รัฐไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล รัฐเพียงแค่ต้องการที่จะสร้างสังคมมโนภาพในนามของความเท่าเทียมผ่านระบบส่วนกลางเท่านั้น
**มาช้านิดหน่อยนะครับ หายไปเป็นเดือนเลย แต่แน่นอนครับว่าโปรเจคที่จะเขียนเรื่องอื่นๆจะมีแน่นอน
Bibliography
Chamorel, Patrick. The Limits of the Welfare State. Stanford, CA: Hoover institution at Stanford University, 2009.
Meltzer, Allan H. Lessons From The European Welfare State. Stanford, CA: Hoover institution at Stanford University, 2016.
Vilbert, Jean. The Failure of the Welfare State: The Case of Argentina and Brazil. Auburn, AL: Mises Institute, 2019.