[ ทฤษฏีว่าด้วยการข่มขืน]
[ Theories Of Rape ]
(ในแต่ล่ะมุมมองและหลักฐานที่ปรากฏลงในที่นี้ทั้งเป็นการอ้างอิงในเนื้อหาเองที่ใช้สำหรับทั้งการโต้แย้ง) มีดังนี้
- BIOLOGICAL THEORY: Randy Thornhill, The Biology of Human Rape, 39 Jurimetrics J. 137(1999) at 143:
การคัดเลือก , ความแตกต่างในการสืบพันธุ์ท่ามกลางความเฉพาะต่อบุคคลส่งผลให้เกิดลักษณะที่แตกต่างกันออกไป นี่เป็นการอธิบายที่มีความสมเหตุสมผลมากที่สุดในการข่มขืนที่เกิดขึ้นในมนุษย์ มีข้อสันนิษฐานว่า ทุก ๆ การวิวัฒนาการเป็นประตูที่นำไปสู่การปรับตัว ที่ถูกขับเคลื่อนโดยการคัดเลือกคู่ซึ่งกันและกัน ไม่ใช่การเลือกคู่กันเป็นกลุ่ม ๆ สำหรับหลักฐานนั้นมันมีความชัดเจนมาก และสามารถเห็นได้ในการออกแบบอย่างมีฟังก์ชั่นเพื่อการปรับตัว คุณประโยชน์จากการปรับตัวคือสิ่งมีชีวิตที่ได้รับไว้ซึ่งลำดับรหัสพันธุกรรมที่ถูกกำหนดเอาไว้แล้ว มันไม่มีตัวอย่างของการปรับตัวที่ได้มีการวิวัฒนาการ เพราะว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นการส่งเสริมเพื่อการอยู่กันแบบกลุ่มหรือเพื่อผลสำเร็จของการสืบพันธ์ ถ้าการอยู่กันแบบกลุ่มนั้นถูกส่งเสริมจากผลของการปรับตัว มันก็เป็นเพียงผลพลอยได้ ไม่ใช่ผลจากการที่การปรับตัวได้รับการวิวัฒนาการ
การคัดเลือกระหว่างกันมีผลมาด้วยการข่มขืนไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ในกรณีที่เป็นการคัดเลือกทางตรงสำหรับการข่มขืนนั้น การคัดเลือกอาจมีรสนิยมการข่มขืนอีกด้วย เนื่องด้วยการข่มขืนให้ผลดีแก่ผู้ที่กระทำการข่มขืนที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการสืบพันธ์แม้ว่าจะมีราคาที่ต้องจ่ายก็ตาม การข่มขืนเพิ่มจำนวนคู่ครอง ดังนั้นเพศชายจึงได้รับผลสำเร็จในการสืบพันธ์ ถ้าเป็นเช่นนั้น มันเป็นการปรับตัวทางจิตวิทยาในเพศชาย การข่มขืนจำเพาะ เนื่องจากผู้หญิงมีการปรับตัวในการเลือกคู่ครองทำให้พวกเธอชอบคู่ครองที่มีฐานะและทรัพยากร ทำนองเดียวกับว่าชอบคู่ครองด้วยคุณสมบัติทางกายภาพโดยเฉพาะ เช่นว่า ความสมบูรณ์สมภาคในร่างกายที่บ่งบอกถึงความแข็งแรงและมีสุขภาพ เราจึงอนุมานเรื่องการข่มขืนได้ว่า การหลีกเลี่ยงการเลือกคู่ของผู้หญิงทำให้จำนวนคู่ครองของผู้ชายเพิ่มขึ้นในประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของมนุษย์
การค้นหาการปรับตัวจำเพาะเจาะจงดังกล่าวคือหลักฐานอันหนักแน่นว่าด้วยการคัดเลือกทางตรงมีผลเพื่อกลไกในการปรับตัวที่จะนำมาสู่การวิวัฒนาการการปรับตัว อย่างไรก็ตามสิ่งนี้ไม่ได้บ่งบอกว่าการข่มขืนในปัจจุบันมีผลในความสำเร็จในการสืบพันธ์ในแต่ละบุคคล มันคนละเรื่องกันละ กรณีสำหรับการคัดเลือกทางอ้อมในการข่มขืนนั้น เป็นผลจากความบังเอิญจากการคัดเลือกทางตรงในลักษณะทางเพศของผู้ชายนอกเหนือจากนั้น การข่มขืนเป็นผลพลอยได้จากการปรับตัวของผู้ชายเพื่อแสวงหาการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการไม่ผูกมัดและยินยอม โดยการกระทำนี้ถูกคัดเลือกไว้เพราะเป็นการเพิ่มจำนวนคู่ครองของเพศชายและเนื่องจากการลงทุนลงแรงของผู้ชายในการให้กำเนิดบุตรมันน้อย พูดได้ว่า การข่มขืนพัฒนาไปตามความบังเอิญ เนื่องด้วยการข่มขืนทางตรงทำให้ได้คู่ครองจำนวนมากและไร้ซึ่งบ่วงพันธะสัญญา รักใคร่โรแมนติก
ในตอนนี้ ตามทฤษฎีแล้ว เราไม่รู้ว่าอะไรคือความเป็นจริงกันแน่ ระหว่างการข่มขืนที่ทำให้เกิดการการปรับตัวเป็นการข่มขืนจำเพาะ หรือเกิดขึ้นโดยบังเอิญซึ่งไร้การปรับตัวเพื่อแสวงหาคู่นอนที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม สมมติฐานที่ว่าด้วยการปรับตัวเพื่อการข่มขืนจำเพาะสามารถเป็นไปได้มากกว่า นั่นเพราะว่าผู้ข่มขืนมีราคาที่ต้องจ่ายสูง และการข่มขืนนั้นมีอยู่ได้ เนื่องจากการข่มขืนมีผลประโยชน์ต่อผู้ชายที่มากเกินไปในความสำเร็จในสืบพันธุ์ในประวัติศาสตร์มนุษย์ นอกจากนั้น การข่มขืนยังมีปรากฎในประวัติศาสตร์การวิวัฒนาการในมนุษย์ ดังที่เห็นว่าเพศหญิงมีการปรับตัวเพื่อรับมือกับการข่มขืน ทุกวันนี้ การข่มขืนเป็นเรื่องธรรมดา การคัดเลือกทางธรรมชาติไม่ได้กำจัดพฤติกรรมที่มีค่าใช้จ่ายที่ต้องแลกมานี้
การปรับตัวเพื่อการข่มขืนเชิงจิตวิทยามีอย่างน้อย 6 สมมติฐาน
- กลไกทางจิตวิทยาที่เชื่อมโยงกับช่องโหว่ของเหยื่อจนถูกใช้กำลังในการข่มขืนจากเพศชาย
- กลไกทางจิตวิทยาเชื่อมโยงกับภาวะทรัพยากรขาดแคลน (ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความยากที่จะเข้าถึงเพศหญิง ) จนถูกใช้กำลังในการข่มขืนจากเพศชาย
- กลไกเชิงจิตวิทยาส่งผลให้เพศชายมีความชอบที่แตกต่างกัน ( ในความหมายที่ว่า ความพึงพอใจในเพศที่ต่างกันตามอายุ ) ในเหยื่อที่ถูกข่มขืนมากกว่าคู่นอนที่มาจากการยินยอม
- กลไกทางจิตวิทยาเพื่อสรีรวิทยาที่ผลิตความต่างในอสุจิที่สำเร็จจากการข่มขืน
( หรือการจินตนาการถึงการข่มขืน ) ที่บ่งบอกถึงการออกแบบกลไกจำเพาะเพื่อการข่มขืน - กลไกเชิงจิตวิทยาก่อความแตกต่างในการปลุกเร้าเพศชายสำหรับการคิดถึงการข่มขืนมากกว่าสำเร็จจากคู่นอนที่ยินยอม
- กลไกเชิงจิตวิทยาในสรีรวิทยาก่อให้การข่มขืนคู่สมรสเป็นกลวิธีการแข่งขันของอสุจิ
กลไกดังกล่าวนั้นไม่ได้เกิดขึ้นร่วมกัน กลไกนี้มากกว่าหนึ่งกลไก หรือทั้งหกกลไก อาจมีจริงเป็นส่วนหนึ่งของการปรับตัวเชิงจิตวิทยาทางเพศเพื่อการข่มขืน นอกจากนี้ การปรับตัวนั้นอาจปรากฎเฉพาะในผู้ชายบางคน ที่นักชีววิทยาอ้างถึงการผสมผสานขึ้นอยุ่กับความถี่ของการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตามสมมติฐานการกีดกันทรัพยากร ( การเข้าถึงเพศหญิงที่ยาก ) ไม่สามารถอธิบายการข่มขืนได้ทั้งหมดแน่นอน มีหลายกรณีของการข่มขืนโดยผู้ชายที่มีฐานะที่ดีหรือมีสน่ห์ทางร่างกายต่อความสำเร็จต่อการมีความสัมพันธ์กันกับผู้หญิงหลายคนโดยยินยอม สันนิษฐานว่า การข่มขืนที่เกิดขึ้นจากผู้ชายที่มีทรัพยากรและฐานะเกิดจากการปรับตัวการข่มขืนจำเพาะที่แตกต่างกัน อ้างอิงจากข้อสันนิษฐานข้อแรกที่ผู้ชายหลายคนจะข่มขืนเมื่อรู้ว่าประโยชน์ที่ได้รับมันได้มากกว่าการลงแรงที่ใช้ไป
ถึงแม้เฟมนิสต์พยายามที่จะปฏิเสธทฤษฎีทางชีววิทยาและแสดงให้เห็นว่าการข่มขืนคืออาชญากรรมในการปกครองทางสังคม นักทฤษฎีก็ยังคงอธิบายถึงความทุกข์ทนทรมานในตัวผู้ชายที่ต้องต้านทานแรงดึงดูดที่บังคับพวกเขาที่จะกระทำการข่มขืนต่อไป :
Craig Palmer นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยโคโรลาโดและ Randy Thornhill นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก รวมกันวางแผนเพื่อผลิตหนังสือ A Natural History of Rape : Biological Bases of Sexual Coericon พวกเขามีกำหนดการเตรียมปล่อยหนังสือในเดือนเมษายนโดยสำนักพิมพ์ MIT Press เพื่อหักล้างคำกล่าวหาว่าการข่มขืนเป็นอาชญากรรมที่กดขี่ผู้ชาย ซึ่งได้วิวัฒนาการจากพฤติกรรมมาเป็นรูปแบบหนึ่งของการสืบพันธ์ในเพศชาย พวกเขากล่าวว่านักสังคมศาสตร์ส่งเสริม “การแก้ปัญหาที่ผิดพลาด ” ในการการข่มขืน เพราะพวกเขามองอาชญกรรมอย่างไม่ถูกต้องว่าถูกควบคุมโดยแรงกระตุ้นที่จะหักห้ามหรือบังคับได้ ไม่ใช่ความต้องการทางเพศ นักวิทยาศาสตร์แนะนำให้ผู้หญิงควรกระทำอะไรบางอย่างเพื่อป้องกันพฤติกรรมที่ห้ามไม่ได้จากผู้ชาย โดยอย่าสวมใส่เสื้อผ้าที่ล่อลวงหรือมีการไปเดทที่ไม่ได้อยู่ในการดูแลจนไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แต่พวกเขาไม่ได้ยืนยันว่าสิ่งที่เป็นตามธรรมชาติจะดีและเห็นด้วยกับการกระทำในที่สาธารณะอย่างการข่มขืนที่ทำให้ดับสูญไปตามลักษณะของมนุษย์ภาวะ ทั้งสองยืนยันว่าความคิดตรรกะในปัจจุบันนั้นล้มเหลวในเรื่องการข่มขืนที่ปฏิเสธถึงการยอมรับรู้ว่าโดยความหมายแล้วการข่มขืนจำเป็นต้องมีการปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศของผู้ข่มขืน สำหรับข้อมูลงานเพิ่มเติมของพวกเขา เรียนนักวิทยาศาสตร์ทุกท่าน : #การข่มขืนไม่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจพละกำลังแต่เป็นเรื่องของกามอารมณ์
อ้างอิงจาก http://www.hoosiertimes.com/…/news.000111_A4_MCW80871.sto.
แต่นักทฤษฎีทางชีววิทยาที่เชื่อในดาร์วินได้เตือนผู้อ่านว่าการค้นพบของฐานทางชีววิทยาของพฤติกรรมทำลายล้างของมนุษย์ ( เช่น การข่มขืน ) ไม่ได้หมายความว่าสังคมได้ยอมรับของพฤติกรรมดังกล่าว
ประการแรกการบอกว่าบางสิ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากการคัดเลือกโดยธรรมชาติไม่ได้หมายความว่ามันเปลี่ยนแปลงไม่ได้ การแสดงออกของธรรมชาติของมนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมของสภาพแวดล้อม แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในบางกรณีจะมีความรุนแรงอย่างมาก ประการที่สอง การกล่าวว่าบางอย่างที่เป็นธรรมชาตินั้นไม่ได้หมายถึงว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่ดีแต่อย่างใด มันไม่มีเหตุผลเลยที่จะนำ “คุณค่า” จากการคัดเลือกโดยธรรมชาติมาเป็นความชอบธรรมของเราที่จะทำสิ่งนั้น แต่สมมติว่า ถ้าพวกเราต้องการที่จะรับถึงค่านิยมที่ขัดแย้งกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ เราจำเป็นต้องรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ ถ้าพวกเราต้องการเปลี่ยนความดื้อรันที่น่ากระอักกระอ่วนในความเป็นศีลธรรมจรรยาบรรณในตัวเรา มันจะช่วยให้เรารู้ว่ามันมาจากไหน และในที่สุดสิ่งนั้นมันมีมาจากไหนก็ไม่พ้นธรรมชาติของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม มีความซับซ้อนที่ธรรมชาติถูกเอนไปโดยหลายชั้นจากสถานการณ์และการสืบทอดทางวัฒนธรรมที่ผ่านเข้ามาในสังคม Robert Wright, THE MORAL ANIMAL, New York: Vintage Books, 1994 at 31.
- COMMODIFICATION THEORY: นักทฤษฎีบางท่านได้มองว่าการข่มขืนเป็นอาชญากรรมต่อทรัพย์สิน ซึ่งในเรื่องเซ็กซ์ก็คือสินค้าที่ผู้ข่มขืนพรากไปจากผู้หญิง Baker ได้อธิบายทฤษฎีนี้ไว้เรียบร้อยแล้วใน Katharine K. Baker, Once a Rapist? Motivational Evidence and Relevancy in Rape Law, 110 Harv. L. Rev. 563 (1997).
สำหรับบางคน เซ็กซ์คือทรัพย์สิน และถ้าเซ็กซ์เป็นทรัพย์สินแล้ว การพรากมันไปก็คือโขมย คำนิยามของการจีบหรือเกี้ยวพาราสีที่ได้กล่าวไปในอาจเป็นการพยายามต่อต้านการจำแนกเซ็กซ์เป็นสมบัติ แต่คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยพูดถึงประสบการณ์ส่วนตัวที่ใกล้ชิดและแบ่งปันกันเกี่ยวกับเรื่องเพศ เราอยู่ในวัฒนธรรมที่แทบไม่คุยถึงเรื่องเซ็กซ์นอกจากทรัพย์สิน อันที่จริงยิ่งแล้วการสนทนาที่มีความเป็นกลางและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น มันยิ่งง่ายขึ้นสำหรับผู้คนส่วนใหญ่ — โดยเฉพาะวัยรุ่น –ที่จะคุยกันในเรื่องเซ็กซ์ บางคนก็ไม่เคยที่จะคุยเกี่ยวกับมุมมองที่ใกล้ชิดเกี่ยวกับเซ็กซ์เลย แม้ว่าพวกเขาจะเข้าใจมันก็ตาม แทบเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจที่วัยรุ่นส่วนใหญ่ไม่เคยคุยถึงหรือไม่เข้าใจความใกล้ชิดเรื่องเซ็กซ์
ในทางกลับกันเหล่าวัยรุ่น โดยเฉพาะผู้ชาย ที่ได้รับการโจมตีทางวัฒนธรรมที่ว่ามีสินค้าทางเพศและสินค้าทางเพศของผู้หญิง หลายบริษัทขายสินค้าโดยขายเรื่องเซ็กซ์ของผู้หญิงที่ให้การรับรองสินค้าสินค้าและเรื่องเซ็กซ์นั้นสัมพันธ์กันอย่างมีจุดมุ่งหมาย นอกจากนี้เซ็กซ์นั้นก็เป็นสินค้าที่มีจุดมุ่งหมายชัดเจน ผู้ชายสามารถซื้อบริการทางเพศได้ง่ายดาย ถึงแม้ว่ารัฐจะห้ามเรื่องการค้าประเวณีก็ตาม และนอกจากนี้้ผู้ชายยังสามารถซื้อภาพโป๊หรือแม้กระทั่งซื้อตั๋วดูหนังสดได้อีกด้วย สิ่งกระตุ้นผู้กระทำการข่มขืนทั้งหลายอาจจะไม่ได้มีแก่นที่ต่างจากสิ่งที่กระตุ้นผู้ชายที่ไปใช้บริการทางเพศอย่างโสเภณีหรือดูหนังสดเลย ไม่มีการกระทำไหนจำเป็นกับความสนุกสนานหรือความมั่นคงทางอารามณ์ และทั้งหมดนั้นก็ถูกเรียกว่าเซ็กซ์ ดังนั้นผู้ชายจึงสามารถพอใจต่อความต้องการทางเพศได้โดยปราศจากการติดต่อผูกมัดกันเพื่อความใกล้ชิดทางเพศ
การรับรองทางวัฒนธรรมและการตลาดสินค้าเกี่ยวกับเซ็กซ์นำไปสู่ความต้องการที่มากขึ้นและความรู้สึกมีสิทธิในเซ็กซ์ ผู้ชายส่วนมากมักถูกสอนว่าความต้องการทางเพศนั้นเหมือนกันกับความหิวกระหาย ถ้าได้มีมันก็รู้สึกเพียงพอใจได้ ผู้หญิงคือขนมหวาน แน่นอนว่าอาหารมันไม่ได้ฟรีและก็ไม่ใช่เซ็กซ์ด้วย แต่แน่นอนว่าผู้ชายสามารถจ่ายได้จริงๆเพื่อแลกกับการมีเซ็กซ์ แต่ถ้ามีได้โดยปราศจากการยินยอมจะกลายเป็นเรื่องที่ทำให้มีศีลธรรมมันน่าประนามน้อยการอาชญากรรมอื่น ๆ ดังนั้น มันไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจที่งานวิจัยหนึ่งพบว่าร้อยละ 39 เปอร์เซนต์ของผู้ต้องหาที่ทำกระข่มขืนจะถูกจับในข้อหากระทำการปล้น ผู้ต้องหาหลายคนยอมรับว่า พวกเขาข่มขืนก็เพราะเธออยู่นั่นพอดี ยังไงพวกเขาได้ละเมิดทำผิดกฎหมายและบุกรุกทำการปล้นไปแล้ว ทำไมจะลองข่มขืนอีกด้วยไม่ได้ล่ะ ?
ผู้ชายหลายรู้ว่าการมีเซ็กซ์ที่ไม่ได้รับการยินยอมกันมันผิด แต่หลายคนก็มองว่ามันก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้นสักหน่อย ในส่วนนี้จะแสดงให้เห็นว่าแอลกอฮอลล์ที่มีความสัมพันธ์ถึงการข่มขืน ในงานวิจัยของมหาวิทยาลัยว่าด้วยผู้ชายที่กระทำการข่มขืน 75 เปอเซ็น ของงานวิจัยกล่าวว่าพวกเขาได้ใช้แอลกอฮอลล์หรือไม่ก็ยามาก่อนที่จะเริ่มใช้วิธีการทำร้ายร่างกาย อีกงานวิจัยหนึ่งคือผู้กระทำการข่มขืนถูกตัดสินลงโทษว่ามีความผิด พบว่าการร้อยละ 75 เปอร์เซ็นต์่ยอมรับว่าใข้ยาหรือแอลกอฮอลล์ก่อนเริ่มลงมือ การข่มขืนที่เกิดขึ้นในรั่วมหาวิทยาลับได้ถูกวิเคราะห์ในปี 1985 ว่ามีความเกี่ยวข้องกับแอลกอฮอลล์ ความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างแอลกอฮอลล์กับการข่มขืนนี้ก็เลยมีอยู่จริง แม้ว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อธิบายได้อย่างชัดเจนแล้วว่า ” แอลกอฮอลล์มีส่วนที่ยับยั้งรู้สึกทางเพศและยับยั้งการปลุกอารมณ์ทางจิตใจ ” อะไรล่ะจะอธิบายความสอดคล้องกันระหว่างผลของแอลกอฮออลล์และการข่มขืนทั้งๆที่แอลกอฮอลล์ไม่ได้มีผลต่อแรงขับทางเพศเลยแต่ว่าแนวโน้มของแอลกอฮอลล์ค่อนข้างที่จะลดการยับยั้งต่อการทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง พวกวัยรุ่นที่เมาและไปมีเพศสัมพันธ์กันก็เปรียบได้ว่าพวกเขาไปเซเว่นเพื่อจะไปโขมยขนมหวานนั่นแหละ พวกเขารู้ว่ามันผิด แต่มันไม่ได้แย่ขนาดนั้นสักหน่อยนี่ วัยรุ่นส่วนใหญ่ไม่ได้เมาแล้วไปปล้น ไม่ได้เมาแล้วไปฆ่าคน พวกเขาเพียงเมาแล้วทำผิดกฎเล็กน้อย โขมยของ ซิ่งรถ และทำลายเมือง กฎต่อต้านการการข่มขืนโดยเฉพาะวันที่ข่มขืน มันเหมือนกับกฎที่ห้ามโขมยของนั่นแหละ–กฎเล็กน้อย
นอกจากจะอธิบายในเชิงทรัพย์สินแล้ว Baker ยังได้กล่าวถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างเซ็กซ์กับการเกี้ยวพาราสี และความเกี่ยวข้องกันกับการค้นหาว่าผู้ชายบางคนข่มขืนเพราะต้องการมีเพศสัมพันธ์ เธอยังได้วิจารณ์ในเชิงการแบ่งชั้น ว่าด้วยผู้ชายข่มขืนผู้หญิงเพื่อสร้างอำนาจที่เหนือกว่าหรือให้ตัวเองแตกต่างจากผู้ชายคนอื่น ๆ และท้ายที่สุดเธอได้วิจารณ์ผู้ชายที่ข่มขืนภายใต้รูปแบบการควบคุมอารมณ์ความโกรธหรือซาดิสม์
3.DEVELOPMENTAL THEORY: From N.M. Malamuth & M.F.
Heilmann, Evolutionary Psychology and Sexual Aggression, in HANDBOOK OF EVOLUTIONARY PSYCHOLOGY 515-42 (C. Crawford & D. L. Krebs eds., 1998):
Malamuth และเพื่อนร่วมงานมีเสนอว่าการข่มขืนนั้นมีความเด่นชัดในผู้ชายพอประมาณ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เพราะความหลากลายทางพันธุกรรม แต่เกิดจากเหตุการณ์การพัฒนาการนั้น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ การวิเคราะห์ของพวกเขาระบุว่า ผู้ถูกข่มขืนมักมาจากพื้นหลังการพัฒนาการที่รุนแรงเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์กับสังคมที่น้อยและการไม่มีตัวตนในสังคม และพื้นหลังซึ่งมีการจัดการการบีบบังคับและความรุนแรง สิ่งเหล่านี้เป็นวิธีการที่ถูกต้องในการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม
Malamuth เริ่มทำการวิจัยในความรุนแรงทางเพศจากมุมมองเฟมนิสต์ แต่ลงเอยว่า ประเด็นของการข่มขืน พละกำลังอำนาจ และการควบคุม สิ่งเหล่านี้อธิบายได้ไม่เพียงพอเลยหากปราศจากแนวคิดทางวิวัฒนาการ จากงานวิจัยเชิงประจักษ์อันกว้างขวางของเขา ได้รับการยืนยันแล้วว่าการโต้ตอบทั้ง 20 หนทาง ทำให้เกิดความรุนแรงทางเพศ วิถีทางเพศที่ไร้ซึ่งตัวตนถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเชื่อมโยงกันกับเพื่อนผู้กระทำความผิด นำไปสู่การกระทำทางเพศตั้งแต่ยังเยาว์ และการมีคู่นอนที่มากคู่ วิถีภาวะชายเป็นพิษนั้นมีความเกี่ยวพันกันกับความไม่มั่นคงของภาวะชายเป็นพิษ ความเป็นศัตรู ความไม่ไว้ใจ และความต้องการที่จะปกครองเหล่าผู้หญิง From Stephen Gold’s review of: Sex, Power, Conflict: Evolutionary and Feminist Perspectives, Edited by David M. Buss and Neil M. Malamuth. Oxford University, Press, New York, 1996
- RAPE AS A GENDER-BASED HATE CRIME
ข้อความนี้ตัดตอนมาจาก Goldscheid, Julie, Gender-Motivated Violence: Developing a Meaningful Paradigm for Civil Rights Enforcement, 2 Harv. Women’s L.J. 123 (footnotes ommited), 146:
“ การบังคับกันเพื่อการมีเซ็กซ์ด้วยเหตุผลของความหลงใหลหรือบุคลิกภาพนั้น อาจสนับสนุนมากกว่าจะหักล้างการเรียกร้องแรงจูงใจทางเพศ เพราะมันแสดงถึงการไม่เคารพในเพศหญิง มีงานวิจัยที่วัดว่าความถี่จากการโดนคนรู้จักข่มขืนนั้นได้ถูกไตร่ตรองและถูกระบุเอาไว้แล้วบนความอคติที่เลือกปฏิบัติต่อสิทธิของผู้ชาย เพื่อบีบบังคับความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้หญิงโดยขัดต่อความประสงค์ของพวกเขา”
นอกเหนือจากการข่มขืนในที่ทำงานและแก๊งข่มขืนที่วิเคราห์ไว้ใน the first VAWA Civil Rights Remedy cases การข่มขืนและความรุนแรงภายในสถานการณ์อาจมีหลักฐานอื่นที่สะท้อนถึงการเลือกปฏิบัติทางเพศ. ผู้กระทำความผิดอาจพูดถึงคำพูดที่เสื่อมเสียทางเพศ อย่างคำว่า “bitch,” “slut,” หรือ “whore”ในระหว่างที่กระทำการรุนแรงไปด้วย เขาอาจจะแสดงความเห็นที่สะท้อนถึงอคติต่อต้านผู้หญิง อย่างในเคส Brzonkala นี้ จำเลยได้พูดคำเสื่อมเสียทางเพศเกี่ยวกับลักษณะทากายภาพของผู้หญิงหรืออาจทำให้อวัยวะเพศเธอเสียหายในขณะที่กระทำการข่มขืน ในกรณีการข่มขืนที่เกิดขึ้นจากคนรู้จัก จำเลยอาจเมินเฉยคำอ้อนวอนจากผู้หญิง สะท้อนถึงมุมมองที่มองว่า ถึงผู้หญิงจะอ้อนวอนขอว่าไม่ แต่ในมุมมองผู้ข่มขืนก็คิดว่าใช่ไปแล้ว สิ่งนี้เน้นความรุนแรงต่อผู้หญิงอย่างมาก หรือไม่ก็จำเลยอาจจะเป็นคนที่ก่อคดีต่อเนื่อง หรืออยู่ในแก๊งข่มขืน
- การตรวจสอบว่าการข่มขืนไม่ใช่เรื่องของเพศ แต่เป็นเรื่องของการควบคุม, นักกฎหมายเฟมนิสต์ท้าท้ายถึงความเข้าใจในกฎหมายข่มขืนในปัจจุบันที่จะให้เพ่งเล็งถึงปัญหาการควบคุมที่เกี่ยวข้อง
From Stephen R. Gold’s review of: Sex, Power, Conflict: Evolutionary and Feminist Perspectives, Edited by David M. Buss and Neil M. Malamuth. Oxford University, Press, New York, 1996:
ปัญหาของการข่มขืนควรถูกเข้าใจกันว่าให้เป็นเรื่องพฤติกรรมทางเพศหรือความรุนแรง สิ่งนี้ถูกตรวจสอบอย่างระมัดระวังโดย Muehlenhard et al. นักเขียนผู้หารือกับคำถามและมุมมองจากเหยื่อและจำเลย และจบลงที่ปัญหามันนำเข้าไปสู่แรงจูงใจ ผลที่ตามมา หรือประสบการณ์ที่การข่มขืนนี้จะกำลังถูกพูดคุย ผู้เขียนแนะนำที่จะย้ายปัญหานอกเหนือจากเรื่องเพศและความรุนแรง ไปเน้นที่ประเด็นการควบคุม
เขาแนะนำการนิยามการบีบบังคับทางเพศต้องบนหลักการโดยไม่คำนึงถึงว่าผู้หญิงคนนั้นเป็นเหยื่อของความรุนแรงหรือไม่ แต่เธอยินยอมที่จะทำกิจกรรมโดยยินยอมหรือไม่ ปัญหาเรื่องความยินยอมถูกเชื่อมโยงเกี่ยวกับแอลกอฮอลล์กับความก้าวร้าวทางเพศ
Abbey et al.พูดคุยการเชื่อมโยงนี้เกี่ยวกับการใช้แอลกอฮอลล์และความก้าวร้าวทางเพศ หลักฐานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า เกือบ50%ของเหตุการณ์ความก้าวร้าวทางเพศ แอลกอฮอลล์ได้ถูกใช้โดยคนหนึ่งคนและ,ส่วนใหญ่ ,คนทั้งสองคนการดื่มแอลกอฮอลล์ถึงจุดหนึ่งทำให้เกิดการคาดหวังในชายและหญิง ซึ่งจะสามารถแปรเปลี่ยนให้เกิดการเติมเต็มซึ่งกันและกัน อ้างอิงถึง Abbey แอลกอฮอลล์จะทำให้เรื่องทั่วไปสำคัญมากขึ้น และเป็นข้อแก้ตัวสำหรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
การใช้แอลกอฮอล์ทำให้ในเรื่องการยินยอมเนี่ยมันซับซ้อน อยู่ที่ว่าถ้าจุดไหนของกระบวนการที่ดำเนินไปของแอลกอฮอลล์จะทำให้ผู้หญิงไม่สามารถให้ความยินยอมได้อีกต่อไป การดื่มกับผู้ชายที่แสดงออกถึงความสนใจในการกิจกรรมทางเพศ จะกลายเป็นรูปแบบการยินยอมโดนปริยายมั้ย ?
บทความสุดท้ายนี้นำเสนอถึงมุมมองของเฟมนิสต์เกี่ยวกับผลกระทบของการข่มขืนที่มีผลต่อการนับถือคุณค่าตัวเองในตัวผู้หญิงเชื่อใจในตัวผู้อื่น และเชือใจในการรับรู้ของการควบคุมของแต่ละคน Bohner และ Schwarz เขียนถึงการเชื่อมั่นที่มากขึ้นในความไม่เทาเทียมทางเพศเกี่ยวข้องกับความถี่ที่สูงขึ้นในการข่มขืน
ทั้งในระดับบุคคลและในระดับสังคม เพื่อจะตรวจสอบสาเหตุในความเกี่ยวกัน พวกเขาได้เรียนถึงผลกระทบของการคิดถึงก่อนข่มขืนนำไปสู่ภาระและผลกระทบภายหลังที่ขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง เช่น การนับถือตัวเอง(Self-Esteem)
Bohner และ Schwarz สรุปว่าการค้นหาของพวกเขาสนับสนุนเฟมนิสต์ที่ว่าการข่มขืนและคำสอนข่มขืนนำไปสู่ความไม่เท่าเทียมทางเพศ. โดยการให้ความกังวลเกี่ยวกับการป้องกันตัวต่อการโดนข่มขืน
ควบคู่ไปกับคำสอนวัฒนธรรมการข่มขืนไปในตัวผู้หญิงถูกจำกัดในพฤติกรรม ถูกข่มขู่ให้รู้สึกไม่ดีกับตัวเองและไม่ไว้วางใจในผู้อื่น
-(ผู้แปล : ไทสัน ปริยากรโสภณ)
Ref. (การอ้างอิงเนื้อหาของบทความ)
https://cyber.harvard.edu/vaw00/theories_of_rape.html
***ผู้เขียนอาจจะมีการสรุปประเด็นเป็น infographic ในเร็วๆนี้