ทำไมคอมมิวนิสต์จึงล้มเหลว?
สามปีหลังจากที่เกิดการปฎิวัติรัสเซีย นักเศรษฐศาสตร์ออสเตรียนชื่อว่า ลุควิต วอน มิซิส(Ludwig von mises) โต้แย้งว่าการที่คอมมิวนิสต์นั้นล้มเหลวและอธิบายว่าทำไมจึงล้มเหลว
คอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยมไม่สามารถทำได้สำเร็จได้จริงซึ่งสิ่งที่มิซิสได้เขียนในปี 1920 เพราะว่ามันได้ยกเลิกตลาดเสรีออกอย่างเป็นทางการและไม่มีราคาตลาดที่แนะนำผู้คนหรือคาดการณ์สำหรับการวางแผนของการผลิต มิซิสไม่ได้เป็นที่รู้จักจนกระทั่งเมื่อได้ทำสิ่งที่ขัดแย้งนั้นคือสิ่งที่คอมมิวนิสต์และสังคมนิยมทำขึ้นมาแต่สิ่งที่มิซิสได้รับคือ ชื่อเสียงในระดับนานาชาติถัดมาซึ่งนำไปสู่การขึ้นชื่อว่าเป็นกระบอกเสียงของ สำนักออสเตรียน ตลาดเสรีซึ่งเป็นสำนักเศรษฐศาสตร์หนึ่ง ในปี 1973 มิซิสได้เสียชีวิตไปทฤษฏีของเขายังได้รับการตอบรับและมีคนให้ความสนใจมากขึ้นที่ในยุโรปตะวันออก
สหภาพโซเวียตเปิดตัวกับความหวังที่สูงลิ้วแผนที่กำลังจะทำให้สำเร็จโดยมีคณะกรรมการกลาง(Central committee) ซึ่งรับประกันถึงความอุดมสมบูรณ์ในสังคมคอมมิวนิสต์กับทุกคน รัฐที่กำลังจะแห้งเหี่ยวหรือกำลังจะล่มสลายในเวลาต่อมา แต่สิ่งที่ที่สหภาพโซเวียตทำหรือพวกคณะกรรมการกลางทำไม่ได้เป็นผลที่คาดหวังเอาไว้อย่างนั้น เมื่อโซเวียตกลายเป็นหนึ่งในผู้กดขี่ของโลกมีชาวรัสเซียหลายล้านอดอยากและหิวโหยในปี 1920s และ 1930s
ตามประเด็นของมิซิสที่เคยพูดเอาไว้ วัตถุดิบ แรงงาน เครื่องมือ หรือ เครื่องจักรต่างๆที่ถูกใช้ในการผลิตในรัฐสังคมนิยมนั้นอยู่นอกเหนือจากตลาด นั้นหมายความว่า ในรัฐสังคมนิยมรัฐบาลจะเป็นผู้ควบคุมการผลิตและแบบแผนโดยรัฐบาล ไม่มีใครสามารถซื้อหรือขายได้ ไม่มีตลาดที่มีราคาที่สามารถพัฒนาต่อยอดไปได้ เพราะว่าในรัฐสังคมนิยมนั้นไม่มีการแลกเปลี่ยน
การผลิตในยุคสมัยใหม่ คือการผลิตที่ต้องใช้เวลานานและซับซ้อน ผู้ผลิตจำเป็นต้องพิจารณาทางเลือกหลายทางเมื่อการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไรและยังต้องพิจารณาถึงปัจจัยการผลิตที่หลากหลายอีกเมื่อการตัดสินใจในเรื่องที่ว่าจะผลิตสิ่งนั้นอย่างไร วัตถุดิบ อุปกรณ์และเครื่องจักรต้องทุ่มเทให้ได้มากที่สุดสำหรับงานที่เร่งด่วนที่สุดและไม่เสียไปกับงานที่เร่งด่วนน้อยที่สุด
การพิจารณาเหล่านี้สำหรับตัวอย่างที่เห็นภาพได้ชัดที่สุดคือแบบแผนที่ใหม่ของทางรถไฟ หรือก็คือ เราควรสร้างทั้งหมดเลยไหม? ที่ไหนและอย่างไร? การสร้างรถไฟนั้นเร่งด่วนกว่าการสร้างสะพาน การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า พัฒนาพื้นที่ขุดเจาะนำมัน การเพาะปลูกหรือเกาะ? เหล่านี้ไม่มีแผนกลาง แม้ว่าจะเป็นถึงผู้จัดการที่เป็นนักสถิติที่เป็นผู้เชี่ยวชาญกับการความเป็นไปได้ที่มากเท่าไหร่ เครื่องจักรอาจเป็นสิ่งทดแทนแรงงานในระดับหนึ่ง อย่าง ไม้ อะลูมิเนียม หรือ วัสดุสังเคราะห์ที่เป็นการทดแทนเหล็ก แต่จะตัดสินใจแผนยังไงล่ะ? (สิ่งเหล่านี้มีอะไรที่สามารถทำให้เกิดการวางแผนนี้ได้ ในสังคมแบบไหน?)
การทำการตัดสินใจเหล่านี้ ผู้คิดแผนต้องรู้เกี่ยวกับมูลค่าสัมพัทธ์ในการแลกเปลี่ยนในอัตราส่วนใดๆ หรือ ตลาดราคาที่เป็นปัจจัยนับไม่ถ้วนของการผลิตที่เกี่ยวข้องกัน แต่เมื่อปัจจัยเหล่านี้ที่หากรัฐบาลเป็นเจ้าของ นั้นจะไม่มีการค้าขายและจะไม่มีตลาดราคาเลย เมื่อไร้ตลาดราคา ผู้วางแผนก็จะไม่มีทางรู้หรือมูลค่าสัมพันทธ์ของวัสดุอย่าง เหล็ก อะลูมิเนียม ไม้ หรือ วัสดุสังเคราะห์ที่ไว้สำหรับการทำถนน พื้นที่การเจาะน้ำมัน การทำฟาร์ม รถไฟฟ้า สะพาน หรือ บ้านเลย หากปราศจากตลาดราคาที่กำหนดปัจจัยการผลิตผู้ที่คิดแผนก็จะขาดทุนว่าเราจะประสานงานและช่องทางการผลิตที่ต้องตอบสนองอย่างเร่งด่วนและต้องการให้กับผู้บริโภคในท้ายที่สุด
สำหรับช่วงเวลามากกว่า 70 ปี ที่ผ่านมาเนื่องด้วยการปฎิวัติรัสเซียและ 45 ปีเนื่องด้วยจุดจบของสงครามโลก จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่าทำไมคนรัสเซียจึงขาดที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ และ สิ่งที่จำเป็นในชีวิตหลายๆอย่าง ทำไมการผลิตเกี่ยวกับเกษตรกรรมจึงเน่าและเสื่อมถอยในพื้นที่ที่ขาดอุปกรณ์ที่เก็บเกี่ยวและการขนส่ง? ทำไมโรงงานและทุ่งน้ำมันนั้นมีการบำรุงรักษาที่ย่ำแย่มีผลต่อการผลิตที่ลดลง? นั้นก็เพราะว่า วัสดุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร โรงงานและฟาร์ม นั้นไม่ได้เป็นสิ่งส่วนตัวของบุคคล ซึ่งปราศจากการเสนอการเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนบุคคล ผลกระทบราคาเหล่านั้นสัมพันธ์กับมูลค่าตลาดที่ไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้และยังปราศจากตลาดราคาอยู่ มันเป็นไปไม่ได้ที่กิจกรรมการผลิตที่ประสานกันนั้นจะได้สินค้าและบริการที่ดีต่อผู้บริโภคที่จะเป็นประโยชน์ นั้นเป็นเหตุผลว่าทำไมคอมมิวนิสต์ถึงล้มเหลว
ในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ที่ๆปัจจัยการผลิตนั้นเป็นกิจการส่วนบุคคลหรือเป็นเอกชน ปัญหาเหล่านี้จะถูกแก้ทุกๆวันตามการคำนวณของผู้ที่เป็นเข้าของมูลค่าทางการค้าที่เป็นปัจจัยที่หลากหลาย ทั้งการซื้อ ขาย และ การค้ากับคนอื่นๆ ตามที่ต้องการ สิ่งที่มิซิสได้เขียนในปี 1920 ก็คือ
“Every step that takes us away from private ownership of the means of production and from the use of money also takes us away from rational economics.”
แปลเป็นไทยก็คือ ทุกๆขั้นที่พาเราออกไปจากกรรมสิทธ์ส่วนบุคคลของปัจจัยการผลิตและเช่นเดียวกันกับจากการใช้เงินนั้นก็จะนำพาเราออกจากเหตุผลในทางเศรษฐศาสตร์
วันนี้ แม้ว่าคอมมิวนิสต์จะใกล้คืบเข้ามาให้รับรู้ได้สำหรับพวกเขาที่มองมิซิสเป็นฝ่ายขวา สำหรับ USSR สังคมคอมมิวนิสต์โดยปราศจากทรัพย์สินส่วนบุคคลและการคำนวณในทางการเงิน โควทเพิ่มเติมก็คือ
“floundering in the ocean of possible and conceivable economic combinations,”
“พวกนั้นยังคงดิ้นรนอยู่ในทะเลของความเป็นไปได้และโน้มน้าวเพื่อให้เศรษฐกิจที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้”
ตามที่มิซิสเล็งเห็นในปี 1920 ก็คือการบอกว่าคอมมิวนิสต์นั้น การปราศจากเข็มทิศของการคำนวณทางเศรษฐกิจ จะแสดงให้เราเห็นในตอนนี้ที่มิซิสแสดงให้เห็นถึงขั้นต่อๆไปว่าแนะนำการนำเสนอกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลของปัจจัยการผลิตจะเป็นสิ่งที่สำคัญหรือไม่? (จึงเป็นความคิดในถัดๆไปว่า มันจำเป็นหรือไม่จำเป็นสำหรับเราในตอนนี้)
Ref. Foundation for Economic Education (แปลงาน)
https://fee.org/articles/why-communism-failed/