[ทุนนิยมคืออะไร]
ในอดีตการโต้เถียงเกี่ยวกับทุนนิยมมาในหลายความคิดหลายมิติทางสังคมและเศรษฐกิจจนกลายเป็นการสร้างมุมมองแนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีบนพื้นฐานอย่างทุนนิยมและสังคมนิยม(Capitalism and Socialism) ถึงแม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับทุนนิยมผ่านงานเขียนและวิธีคิดของฝ่ายซ้ายอย่างมาร์กซิสต์ หรือ การวิพากษ์วิจารณ์ปรากฏการณ์ทางสังคมผ่านแนวคิดเชิงวิพากษ์(Critical theory) หรือ แนวคิดหลังสมัยใหม่นิยม(Postmodernism) และอื่นๆ เอาเข้าจริงแล้วทุนนิยมมันยังมีความสำคัญอีกมากสำหรับชีวิตเราและมันยังคงเป็นระบบเดียวที่ปรับตัวเข้ากับธรรมชาติของมนุษย์ได้โดยมีเงื่อนไขที่เรายืนยันกับมันได้ แต่ถึงอย่างไรทุนนิยมก็ยังมีคำล่ำลือหรือความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับมัน ไม่ว่าจะจากการพูดป่าวประกาศความชั่วร้ายของมันว่ามันสร้างความเหลื่อมล้ำหรือ มันใช้ไม่ได้หรือใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพเพราะทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามความเหลื่อมล้ำมันแย่อย่างที่เขาพูดจริงหรือไม่? และทุนนิยมมันไม่เวิร์คใช่ไหม เพราะมันเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้คนตกงาน ได้ค่าแรงน้อย โดนขูดรีด-กดขี่ และ ลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ และอื่น ๆ ฯลฯ
เริ่มต้นเข้าสู่เนื้อหาเราจะต้องกล่าวคำถามไปทีละข้อว่า “ทุนนิยม” คืออะไร? ทุนนิยมมันมีหน้าที่อะไรบ้างต่อชีวิตประจำวันและมันปรับตัวเข้ากับเราได้ยังไง? อะไรนับเป็นทุนนิยมหรือไม่ใช่? และ ผลประโยชน์มีความสำคัญและช่วยอะไรเราได้บ้าง?
เรามาเริ่มต้นคำว่า “ทุนนิยม”(Capitalism) ทุนนิยมตามหลักแล้วมันก็คือ ระบบเศรษฐกิจซึ่งอนุญาตให้มีทรัพย์สินส่วนบุคคล เอกชน และ การมีธุรกิจที่มีทุนสินค้าเป็นของตัวเอง การผลิตสินค้าและบริการขึ้นอยู่กับอุปทานในตลาดทั่วไป เรายังรู้จักในชื่อว่า ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด(Market economy) ตลอดขั้วตรงข้ามอย่าง ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน(Planned economy or Command economy) โดยรูปแบบทุนนิยมที่บริสุทธิ์ที่สุดก็คือ ตลาดเสรีทุนนิยม หรือ การปล่อยให้มันทำไป(laissez-faire capitalism) ซึ่งในระบบนี้ทรัพย์สินส่วนบุคคลจะไม่ถูกจำกัด มันเป็นการกำหนดทั้งเรื่องที่ว่าคนๆหนึ่งควรจะลงทุนอะไร อยากจะผลิตหรือขายอะไร และจะตั้งราคาการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเท่าไหร่ ระบบตลาดเสรีทุนนิยมจะไร้การควบคุมเพราะหากรัฐควบคุมหรือมีการตั้งกฏระเบียบขึ้นมาจะส่งผลทำให้เกิดตลาดล้มเหลวหรือผลลัพธ์ที่มาจากปรากฏการณ์รัฐแทรกแซงตลาดได้ โดยคำว่า “ทุนนิยม” จะแบ่งเป็นคำที่มีความหมายกว้างๆอยู่ 2 แบบก็คือ
1.) ตลาดเสรีทุนนิยม(Free-market Capitalism) เป็นเครือข่ายที่มีการแลกเปลี่ยนอย่างสมัครใจ(แลกเปลี่ยนเสรี) ซึ่งให้ผู้ผลิตสินค้า ได้ผลิตและแลกเปลี่ยนสินค้าบนราคาที่เสนอที่จะแลกเปลี่ยนสินค้าใดๆ โดยความสมัครใจทั้งสองฝ่าย,
2.) รัฐทุนนิยม(State Capitalist) คือองค์ประกอบรัฐด้วยกลุ่มหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งกลุ่มที่มีการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือบีบบังคับของรัฐบาล(เช่นการมีกฎหมายข้อบังคับต่างๆ) โดยการสะสมทุนของกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่งจะบังคับการผลิตของผู้อื่นด้วยกำลังและความรุนแรงแต่อย่างไรก็ตามในรัฐทุนนิยมปัจจุบันต่างจากในอดีตอย่างสิ้นเชิงในการใช้ความรุนแรง ตลอดประวัติศาสตร์การดำรงอยู่ของรัฐเป็นเครื่องมือจัดระเบียบไว้เพื่อการบีบบังคับและแสวงหาผลประโยชน์จากการจ่ายภาษีซึ่งตรงนี้ก็เกิดขึ้นเสมอเมื่อมีคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้ามาเพื่อควบคุมรัฐ ไม่ว่าจะเป็นพระราชา เจ้าที่ดิน พ่อค้าที่มีอภิสิทธิ์ชน ทหาร หรือ พรรคคอมมิวนิสต์ ผลก็คือ ทุกๆที่การบีบบังคับเพื่อให้มีการจ่ายภาษีของมวลการผลิตเสมอ (ซึ่งรัฐทุนนิยมไม่ใช่การควบคุมปัจจัยการผลิตเหมือนรัฐสังคมนิยม และ แน่นอนว่าในหลายศตวรรษที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่โดนชนชั้นปกครองที่มีอำนาจเหนือกว่าและระบบราชการที่มีความมืออาชีพที่ได้รับการว่าจ้าง โดยทั่วไปแล้วรัฐมีจุดเริ่มต้นในการปล้นสะดมและการพิชิตปักหลักในกลุ่มประชากรเพื่อรับส่วยถาวรที่แน่นอนและต่อเนื่องในรูปแบบ “การจัดเก็บภาษี” และการจัดเก็บที่ดินของชาวนาเป็นผืนใหญ่ ในกระบวนทัศน์สมัยใหม่ตามประวัติศาสตร์ที่เห็นได้ชัดก็คือ การพิชิตลาตินอเมริกาของสเปนเมื่อการพิชิตทางทหารของชาวนาพื้นเมืองของอินเดียนำไปสู่การแยกดินแดนจากอินเดียไปยังครอบครัวชาวสเปนและการตั้งถิ่นฐานชาวสเปนในฐานะชนชั้นปกครองถาวรเหนือชาวนาพื้นเมือง)
ทุนนิยมมักจะอยู่ในส่วนของเศรษฐกิจแบบตลาดนั้นทำให้มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ แต่ถ้าเราพูดถึงทุนนิยมมันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะสร้างคุณประโยชน์ต่อมนุษยชาติอย่างมีการแลกเปลี่ยน การได้กำไร การค้าแข่งขัน กับสิ่งหนึ่งที่เป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจแบบตลาดก็คือ “ทรัพย์สินส่วนบุคคล”
ทรัพย์สินส่วนบุคคล(Private property) ในระบบทุนนิยมสามารถให้ครอบครองทรัพย์สินส่วนบุคคลซึ่งมีสิทธิ์กำหนดเอาไปสร้างประโยชน์อย่างอื่นได้โดยถือว่าทรัพยากรที่ทั้งจับต้องได้และไม่ได้ ผู้ที่สามารถเป็นเจ้าของก็จะเป็นบุคคลตามกฎหมาย ธุรกิจ และ รัฐบาล ในหลายๆประเทศอย่างเช่น อเมริกา ปัจเจกบุคคลทั่วไปมีสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินส่วนบุคคลหรือสิทธิ์ส่วนบุคคลต่อการสะสมทุน-ครอบครอง-โอนสิทธิ์-ให้เช่า หรือ ขาย ก็ได้ มันจึงเป็นหัวใจหลักของเรื่องที่ว่าทุนนิยมให้เสรีภาพในการมีไว้ครอบครองกับคนทุกคนภายใต้กฎหมายเดียวกัน ในทางเศรษฐศาสตร์การถือครองทรัพย์สินอยู่ในรูปพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนในตลาดทั้งหมดและการจัดสรรของสิทธิ์ในการถือทรัพย์สินในสังคมเป็นการสร้างประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรนั้นๆ นั้นหมายความว่า ประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ทรัพยากรภายใต้เจ้าของที่มีเอกสิทธิ์นั้นๆ และต้องระวังสับสนว่ากับการนิยามทางกฎหมายเรื่องความเป็นข้าวของและสิทธิ์ในทรัพย์สินเพราะ มันเป็นความคิดของสมาชิกสภานิติบัญญัติและศาลในการกำหนดแนวคิดเกี่ยวกับทรัพย์สินในลักษณะที่จะให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของอย่างเต็มที่โดยกฎหมายดังกล่าวเป็นเครื่องมือของรัฐในการบังคับและเพื่อป้องกันไม่ให้ใครล่วงล้ำสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินของเขา ซึ่งก็เป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับคอนเซ็ป catallactic
โดยทรัพย์สินส่วนบุคคลเรารับทราบกันดีกว่ามันตรงกันข้ามกับทรัพย์สินสาธารณะ(Public property) คือสิ่งที่มีไว้เพื่อให้ส่วนรวม โดยจะเป็นในรูปของส่วนรวม(Collective) ซึ่งตรงกันข้ามกับปัจเจก(Individual) เรารู้กันดีกว่า public ownership คำๆนี้ไม่ได้มีในตลาดเสรีทุนนิยม เพราะส่วนใหญ่ที่เราพูดถึงนั้นจะเป็นสังคมที่ไม่มีการแลกเปลี่ยนและรัฐครอบครองปัจจัยการผลิต อย่าง คอมมิวนิสต์จีน อดีตคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต และ อื่นๆ แต่นั้นก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เพราะในท้ายที่สุดการกระจายทรัพยากรหรือการแชร์ทรัพยากรมันไม่มีทางเป็นไปได้และก็ถูกจำกัดวงให้แคบให้เหลือแค่ทรัพย์สินและที่สำคัญรัฐสังคมนิยมนั้นไม่สามารถคำนวณทางเศรษฐศาสตร์ได้ หากกรรมสิทธิ์สาธารณะบอกว่า รัฐบาลควบคุมการจ้างงานของคนแทนที่จะเป็นเจ้าของหรือผู้จ้าง กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลก็จะบอกว่า เจ้าของเป็นผู้กำหนดการจ้างงานปัจจัยการผลิตนั้นๆเอง ซึ่งแตกต่างกัน (และแน่นอนว่าเมื่อถึงตรงนี้ทุนนิยมก็แสดงให้เห็นว่ามันไม่ใช่แบบกรรมสิทธิ์สาธารณะ)
ในที่นี้เราทราบแล้วว่าทุนนิยมนั้นสัมพันธ์กับเสรีภาพของปัจเจกบุคคลซึ่งให้การแลกเปลี่ยนอย่างสมัครใจ การมีทรัพย์สินส่วนบุคคล ภายใต้กฎหมายและกติกาที่ยุติธรรม และ ต่อมาที่เป็นหัวใจสำคัญของทุนนิยมก็คือ “การแข่งกัน” มันเป็นการขับเคลื่อนการบังคับเรื่องของนวัตกรรมความสร้างสรรค์และเป็นการขยับขับเคลื่อนกลไกอุปสงค์และอุปทาน ที่นำมาซึ่งการผสานความสมดุลเพื่อการมีสินค้าที่มากขึ้น และ เพื่อการนั้นการแข่งขันมันจึงมีการจัดตั้งสิ่งที่ทำให้บุคคลสามารถหาที่อยู่ของตัวเอง ที่พักอาศัย ทั้งการจัดตั้งสถาบันเพื่อให้คนได้เลี้ยงชีพได้ดีที่สุดในสังคม สิ่งเหล่านี้เราเข้าใจมันว่ามันเป็นการกระทำที่ผ่าน “การทำงาน” และ เป็นที่แน่นอนสำหรับความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวงว่าทุนนิยมที่มีหัวใจอย่างการแข่งขันจะเป็นความโหดร้ายและเป็นกระบวนลดทอนความเป็นมนุษย์ลงโดยการดึงความต้องการและความปรารถนาที่ไม่จำเป็นในชีวิตออกไป รวมไปถึงแนวโน้มที่จะพัฒนาเข้าไปสู่การต่อต้านการแข่งขันเป็นตลาดผูกขาดที่ตรงกันข้ามกับผลประโยชน์สาธารณะ และเข้าใจว่ามันไม่สนใจผลประโยชน์ส่วนรวมและนำทรัพยากรไปใช้ในทางที่ผิดรวมไปถึงลดคุณค่าทางสังคม เป็นต้น
การแข่งขัน(Competition) ไม่ใช่เรื่องที่แย่และโหดร้าย ลดทอนความเป็นมนุษย์ตามคำกล่าวอ้างของกลุ่มสังคมนิยมและงานเขียนเชิงวิพากษ์อย่างเสียดสี แต่มันเป็นการใช้ความสร้างสรรค์ในการสร้างความสมดุลในสังคมและทำให้เกิดความแตกต่างและนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นกลไกที่ทำให้มีความเติบโต มันจึงไปไกลได้มากกว่าสังคมที่บีบบังคับผูกขาดหรือไม่ให้เกิดการแข่งขัน การแข่งขันในตลาดเสรีทุนนิยมมันเป็นธรรมชาติว่ามันย่อมมีการที่มีคู่แข่งที่แข็งแกร่งกว่าและอ่อนแอกว่า ตราบเท่าที่ทรัพยากรใดๆขาดแคลนมันจะเป็นการจำกัดความพึงพอใจของคนที่ปรารถนาว่าจะมีสถานะที่แน่นอนในสังคม ฉะนั้นการหลีกเลี่ยงการแข่งขันนั้นจึงขัดแย้งกันกับความปรารถนาของคนเอง เพราะฉะนั้นการแข่งขันมันจึงดำรงอยู่ได้(เพราะคนก็ใช้การแข่งขันเพื่อแสวงหา ผลประโยชน์และการผลิตเพื่อตอบรับความพึงพอใจของคน) แต่จุดยืนการแข่งขันมันมีความเหมาะสมของมันไหม? ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์คำถามเรื่องความเหมาะสมในการกำหนดบีบบังคับในการแข่งขัน อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า “การแข่งขันในตลาดเสรีทุนนิยมมันเป็นธรรมชาติว่ามันย่อมมีการที่มีคู่แข่งที่แข็งแกร่งกว่าและอ่อนแอกว่า” มันจึงเห็นผลลัพธ์ได้ชัดที่โฟกัสถึง ‘ความสามารถ’(ability) ‘ทักษะ’(skills) เพื่อให้ได้มีสินค้าที่ต้องการจะขายและสถานะที่เหนือกว่าคนอื่นเสมอ แต่เป็นที่แน่นอนว่าภายใต้ตลาดเสรีทุนนิยมไม่เหมือนในอดีตที่ว่า คุณจะต้องไปปล้นสะดมและยึดทรัพยากร สินค้าของคนอื่นมาครอบครองหรือปราบปรามกดขี่คนเพื่อมาทำงานให้และยอมรับว่าเป็นผู้ที่ชอบธรรมในการพิชิต มากไปกว่านั้น รูปแบบการแข่งขันยังอยู่ในพื้นที่ของจุดยืนทางการเมืองและอำนาจทางการเมือง ความใกล้ชิดกับราชบัลลังก์ที่มีความโปรดปรานต่อกษัตริย์หรือชนชั้นสูงทำให้มีการควบคุมที่ดินในยุคศักดินาที่มีการครอบครองความมั่งคั่งทางวัตถุในรูปแบบที่ชนชั้นสูงเคยมีในยุคก่อน ไม่ว่าจะเป็น ไมเนอร์-คฤหาสน์ ในอดีตที่ชนชั้นสูงมองว่ามันเป็นที่เก็บความสง่างามและศีลธรรมผู้ดีเอาไว้ ความมีอารยะ และ ใช้เวลายามว่างไปกับการมีอำนาจที่ชอบธรรมด้วยกฎหมายในการตัดการผลิตของคนอื่น เป็นที่แน่นอนว่าในอดีตระบบฟิวดัล(feudal) เราจะไม่ได้เห็นเรื่องการแข่งขันภายใต้กติกาที่เท่าเทียมกันอย่างแท้จริง
ถ้าหากมีตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องการค้าและเชิงพาณิชย์เราอาจจะเคยได้ยินนักสำรวจอย่าง มาร์โก โปโล(Marco polo : 1254-1324) มีชื่อเสียงในด้านการเดินทางไปจีนจากยุโรปและกลับไปในปลายทศวรรษที่ 1200s คำอธิบายโดยพ่อค้าและผู้ค้านักธุรกิจและผู้ส่งออกไปและผู้นำเข้า ในทุกๆที่ที่ไปรอบๆทะเลเมดิเตอร์เรเนียน-ตะวันออกกลาง เอเชียกลางและเอเชียตะวันออกกับทางตอนใต้ กิจกรรมของตลาดทั้งหมดที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นถูกดำเนินภายใต้ข้อระเบียบของรัฐบาล การควบคุมและมีข้อจำกัด ข้อห้ามในรูปแบบต่างๆ โดยได้รับการเข้าในวิธีต่างๆโดยผู้ปกครองทางการเมืองในที่ต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น การเข้าสู่อาชีพไม่ว่าจะงานฝีมือ ก็ถูกควบคุมโดยกิลด์การค้าในยุโรปยุคกลาง กิลด์การค้านั้นจำกัดการเข้าร่วมแข่งขันในสายงานต่างๆ ทั้งรวมไปถึงจำกัดวิธีการผลิตที่ผู้ขายสามารถใช้ในการผลิตสินค้าเฉพาะผู้ที่ได้รับอนุมัติจากกิลด์เมืองและเมืองตามลำดับเท่านั้นที่อนุญาต ในชนบทชาวนาถูกผูกไว้กับที่ดิน(ทาส) โดยขุนนางก็จะเป็นเจ้าของและผูกพันกับเทคนิคการทำฟาร์มและงานฝีมือตามประเพณีเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่อาศัยอยู่ภายในสมบัติของขุนขางชนชั้นสูงของคฤหาสน์ เป็นที่แน่นอนว่าการแข่งขันในสมัยก่อนแทบไม่มีความอิสระมากถ้าหากเทียบกับสมัยในปัจจุบันเมื่อการสร้างสัญญาหรือเกิดสัญญาที่ทำให้มีการปลดปล่อยแรงงานและให้โอกาสการทำงานต่างๆ โดยมีระเบียบข้อบังคับในบริษัทนั้นๆ การปลดปล่อยผู้คนทำให้ทั้งแรงงานและการผลิตไปสู่การแข่งขันในตลาดที่มากขึ้นได้ เพราะมันได้ปลดปล่อยคนจำนวนมากที่ชีวิตถูกกดขี่และความยากจนที่พันธนาการชีวิตเอาไว้ การแข่งขัน เป็นการที่ทำให้คนภายใต้กฎหมายที่ผูกมัดเอาไว้กับแผ่นดินและทำงานให้ชนชั้นสูงโดยไม่ได้รับอะไรได้ถูกปลดปล่อย ตอนนี้ในปัจจุบันแต่ล่ะคนสามารถหางานได้อย่างอิสระมากขึ้นตามความต้องการของตัวเองซึ่งนำไปสู่การเสนอในเมืองและเมืองที่ห่างไกลออกไป ที่ที่พวกเขาเคยเกิดและมีรายได้มากกว่าที่เขาเคยมีในชนบท อย่างไรก็ตามรายได้ที่คนทำงานได้ก็พอประมาณขึ้นอยู่กับมาตรฐานของแต่ล่ะที่บริษัทและสายงาน โดยมีกฎหมายที่คำนึงถึงผู้ที่ทำงานในบริษัทนั้นๆ รวมไปถึงความสัมพันธ์กับบุคคลที่มีความสามารถและแบกรับความเสี่ยงและความรับผิดชอบในการประกอบอาชีพประจำหรืออิสระก็มีอยู่ในทุกธุรกิจที่ตนอยู่หรือสร้างบางสิ่งขึ้นมาอย่างผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตโดยที่ตลาดจะให้ “บริษัท” ได้เจรจาและทำสัญญาอย่างเสรีมากขึ้น(เน้นย้ำ ว่าเมื่อมีการแข่งขัน) ทั้งนี้มันยังนำไปสู่วิธีการและเทคนิคใหม่ๆ ที่บริษัทนั้นสามารถจ้างคนที่เขาอยากรับหรือต้องการได้โดย “ตกลงเงื่อนไขการทำงานและค่าจ้าง” รวมไปถึงการรักษาผลกำไรที่จะได้อาจจะได้รับไม่เพียงแต่สิ่งนี้ทำให้ชีวิตดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการไถส่วนที่ดี ผลกำไรที่ได้จากการผลิตในธุรกิจนั้นๆ ทำให้กลับเข้าสู่ธุรกิจเพื่อไปขยายการผลิตในรูปแบบใหม่ๆ !
สุดท้าย การผลิตไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการของผู้มีสิทธิพิเศษครอบครองเพียงไม่กี่คน ในปัจจุบันการแข่งขันตามตลาดมุ่งเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประชากรในวงกว้างทั่วไปที่มีส่วนร่วมมากขึ้นในกระบวนการผลิตเช่นกัน การปฏิวัติอุสาหกรรมทำให้เกิดการทดลองทำสิ่งใหม่ๆในรูปแบบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กว่าที่เป็นอยู่มาก่อนหน้า (อย่างที่กล่าวไปเมื่อเกิดการแข่งขันมันจำเป็นอย่างยิ่งที่สร้างความแตกต่างในรูปแบบที่ดีกว่าเดิม มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าไปสู่ Perfect competition ในตลาดเสรีทุนนิยมต่อการผูกขาด ก็ต่อเมื่อหากมันเชื่อว่าสภาวะดุลยภาพในระยะยาวมันเป็นไปได้ตลอด(State of perfect long-run equailibrium) และไม่มีคู่แข่งอื่นหรือสภาวะอื่นดำรงอยู่)
ในทุนนิยมกับสิทธิของปัจเจกบุคคล(Capitalism and Individual rights) อย่างที่กล่าวเน้นย้ำไปหลายครั้งว่าทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการเตรียมการในสังคมที่เรียกว่า ปรัชญาใหม่ของเสรีภาพมนุษย์ที่ขึ้นอยู่กับ การปฏิวัติความคิดของปัจเจกบุคคลที่มีสิทธิโดยธรรมชาติและไม่สามารถละเมิดสิทธิ์กันได้ต่อมุมมองชีวิตของคนในสังคม อย่างเสรีภาพและทรัพย์สินที่ได้มาอย่างถูกต้อง ในระบบที่ไม่ใช่ทุนนิยมคนๆหนึ่งอาจไม่ได้เป็นเข้าของทรัพย์สินของตนในขณะที่ทุนนิยมเราสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินของตัวเองโดยไม่ต้องแชร์กับใครหรือถูกบังคับให้แชร์ เพราะในทุนนิยม มนุษย์มีเสรีภาพในการอยู่อาศัยโดยมีคำแนะนำจากคอนเซ็ปของความหมายที่ดีและมีคุณค่า และเชื่อว่าเราจะไม่อาจถูกบีบบังคับให้เข้าสู่บทบาทของผู้ที่เสียสละตามความต้องการของคนอื่น หลักการทางจริยธรรม(The ethical principle) ที่อยู่เบื้องหลังของการแข่งขันในทุนนิยม คือ ข้อห้ามทางศีลธรรมและกฎหมายในการบีบบังคับในความสัมพันธ์ของมนุษย์ทั้งหมด หากคุณต้องการในสิ่งที่คนอื่นมีมากกว่า หากคุณต้องการมีวิธีการทางวัตถุเพื่อบรรลุเป้าหมายและจุดจบที่ทำให้คุณมีความสุข(ตามที่คุณเลือกเอาไว้) หากคุณต้องการให้ความสัมพันธ์และความเป็นเพื่อนที่ดีกับคนอื่นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่คิดว่ามันคุ้มค่าที่จะทำ วิธีเดียวที่คุณมีต่อพวกเขาคือ “การตกลงร่วมกันและความยินยอมโดยสมัครใจกับเพื่อนมนุษย์ของคุณ” มันจึงเป็น Free choose ว่าเราจะทำอย่างไรกับสิ่งที่มี สิ่งที่เราต้องการ เป็นต้น
สำหรับ ‘ผลประโยชน์’ ‘กำไร’ ทั้งสองคำเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นสิ่งที่ไม่ได้มาด้วยการแชร์ทรัพยากรด้วยการบีบบังคับแต่อย่างใด ในหลายๆวัฒนธรรม กำไรหรือทั้งสามอย่างนี้ถูกมองว่ามันเป็นการมองตามผลลัพธ์ของแสวงหาผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลต่อคนอื่นๆ ในการค้าขาย ในสังคมทุนนิยมนั้น ทั้งกำไรและการสูญเสียเป็นด้านที่เกิดขึ้นในทุกๆมิติ(และเกิดขึ้นเฉพาะในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด) ที่ราคาสินค้าและบริการ ในหลากหลายปัจจัยการผลิตมีการถูกจัดตั้งขึ้น มันอาจไม่ต้องพูดเลยก็ได้ว่าการดำรงอยู่ของเงินคือกุญแจในการสร้างสินค้าและบริการ ปัจจัยการผลิต รวมไปถึงอัตราการแลกเปลี่ยนสินค้าหลายๆอย่างและปัจจัยที่แสดงออกในเงื่อนไขของเงิน(เช่น จำนวนเงินต่อหน่วยของสินค้าและหน่วยของปัจจัยการผลิตเป็นต้น) ผู้ที่ทำงานและผู้ที่เป็นผู้ประกอบการในการทำงานต้องแบกรับความเสี่ยงจากหลายๆอย่างในระบบตลาดเสรีทุนนิยมเพื่อที่จะผลิตสิ่งใหม่ๆออกมาแข่งขัน เลือกพยายามในการผลิตตามผลลัพธ์ที่ใหญ่ที่สุดต่อรายได้ของพวกเขา หรือก็คือ “กำไร” ไม่ว่ากำไรหรือผลประโยชน์ส่วนบุคคล ก็ล้วนแล้วเชื่อมโยงระหว่างกัน แต่อย่างไรก็ตามในสังคมทุนนิยมนั้นผลประโยชน์ส่วนตัวไม่ได้สร้างหรือก่อให้เกิดการโปรโมทผู้คนที่มาสนับสนุนระบบดังกล่าว แต่ในระบบดังกล่าวทั้งตลาดเสรีทุนนิยมนั้น ทำให้เกิดการค้าขายและแข่งขันกันเพื่อสะสมความมั่งคั่ง สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ถ้าในสังคมนั้นมีเสรีภาพทางเศรษฐกิจที่มากพอและไม่กีดกันหรือการเข้ามาของการแทรกแซงตลาด(เช่น การกำหนดกฏระเบียบตลาด) ทำให้เกิดการผูกขาดตลาดโดยรัฐ หรือ ทำให้เกิดชั้นราคา(Price floor) และ เพดานราคา (Price ceiling) ผลกำไรเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ประกอบการค้นพบว่าราคาของปัจจัยบางอย่างไม่ได้ถูกประเมินเมื่อเทียบกับมูลค่าที่เป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ที่ปัจจัยเหล่านี้เมื่อใช้แล้วสามารถผลิตได้ ด้วยการตระหนักถึงความแตกต่างและการดำเนินการ ผู้ประกอบการจะนำความคลาดเคลื่อนออก นั้นเป็นโอกาสในการทำกำไรในที่สุด ต่อมาความสำคัญของกำไรมันถูกแนะนำโดยมือที่มองไม่เห็น(Invisible hand) ก็คือ เมื่อกำไรอยู่เหนือระดับปกตินั้นจะเป็นการดึงดูดการลงทุนเพิ่มเติม ทั้งโดยบริษัทใหม่และโดยบริษัทที่มีอยู่ก่อนแล้ว การลงทุนใหม่ที่เข้ามาจนผลกำไรจะแข่งขันกันในระดับเดียวกันที่การลงทุนจะได้รับจากที่อื่นด้วย วิธีนี้ทำให้ได้รับผลกำไรที่สูงจะดึงดูดบริษัทต่างๆเข้ามาลงทุนในพื้นที่ที่ผู้บริโภครับรู้ว่าจะต้องการให้การลงทุนเกิดขึ้น นายทุนจึงได้รับผลตอบแทนจากสิ่งนั้นจากความพยายามของพวกเขาโดยการจัดการปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพสามอย่าง คือ
1.) คือการเต็มใจที่จะชะลอความพึงพอใจส่วนตัวแทนที่จะใช้ทรัพยากรให้หมดในวันนี้ แต่ต้องประหยัดรายได้ส่วนหนึ่งของวันนี้และนำไปเป็นเงินออมเพื่อไปลงทุนในกิจกรรมต่างๆ (โรงงานและอุปกรณ์ต่างๆ) เพื่อรับประกันในอนาคตที่ผลผลิตและบริการที่ดีกว่าในตอนนี้ เมื่อสินค้าและบริการขายออกมันจึงกำหนดเป็นผลกำไรที่สามารถนำไปเป็นเงินทุนสำหรับบริโภคหรือการลงทุนเพิ่มเติม หรือก็คือ นายทุนให้ทุนโดยไม่บริโภคหากไม่มีเงินทุนก็ผลิตได้น้อยลงหรือไม่มีเลย ด้วยเหตุนี้เองกำไรส่วนหนึ่งจึงเป็น “ค่าจ้าง”(wages) ที่จ่ายให้กับผู้เต็มใจที่จะทำงานมันจึงชะลอหรือน้อยลง เรารับรู้กันว่าแม้ว่าการได้กำไรต่างๆก็เป็นการแข่งขันมันจึงมีความเสี่ยง
2.) กำไรบางส่วนจะเป็นผลตอบแทนให้กับผู้รับความเสี่ยงเสมอ การลงทุนบางอย่างทำกำไรและคืนสิ่งที่ลงทุนบวกกำไร ยกตัวอย่างเช่น “เชื่อสายการบินล้มละลายจะสูญเสียความมั่งคั่งและยากจนลง เช่นเดียวกันกับคนงานเหมืองใต้ดินที่เต็มใจทำงานเสี่ยงตายเพื่อที่จะได้รับเงินที่มากกว่าคนอื่นที่ทำงานปลอดภัยกว่าดังนั้นนักลงทุนจึงเต็มใจที่จะเสี่ยงเพื่อให้มีรายได้มากกว่าผู้ที่ลงทุนในงานที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า” โดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่ได้รับความเสี่ยงจะได้รับผลตอบแทนที่มีอัตราที่สูงมากกว่าผู้ที่ได้รับความเสี่ยงน้อยกว่าก็จะได้รับผลตอบแทนน้อยกว่าเช่นกัน
3.) กำไรบางส่วนเป็นผลตอบแทนให้กับบุคลากรที่ความสามารถให้กับองค์กรและผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการจะคิดค้นผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการใหม่หรือโดยการจัดระเบียบการส่งมอบผลิตภัณฑ์เก่าที่ดีขึ้นจะสร้างผลกำไรที่ผู้คนเต็มใจที่จะจ่ายเงินให้กับผู้ประกอบการ เหตุผลสำหรับผู้บริโภคอย่างหนึ่งก็คือ “เพราะเราทำสิ่งที่ดีกว่าเราเลยเลือกสิ่งนั้น”
การได้กำไรที่มีความเสี่ยงจึงเกิดขึ้นกับในการลงทุนเช่นกันเพราะเราไม่อาจทราบได้ว่ามันจะได้หรือเสีย เพราะฉะนั้นผลประโยชน์ส่วนตน ที่ได้จากงานเพื่อแลกค่าจ้างก็มาจากกำไรที่นายทุนจะจ่ายให้(ถึงแม้ว่าจะน้อยก็ตามแต่ถ้าบริษัทมันเจ๊งหรือไปต่อไม่ได้ ผลิตได้น้อยลง มันก็จะชะงักและจะเกิดความเสียหายมาก อย่างไรก็ตามหากเรากล่าวถึงคอนเซ็ปผลประโยชน์ส่วนตัวงานเขียนของอดัมสมิทอย่าง The Wealth of Nations ที่เป็นงานเศรษฐศาสตร์คลาสสิกที่สุดได้มีใจความว่า
“It is not from the benevolence of the butcher, the brewer, or the baker, that we expect our dinner, but from their regard to their own interest.”
ทั้งนี้ ตลอดที่มีการยอมรับผลประโยชน์ส่วนบุคคลตามที่เป็นองค์ประกอบที่ไม่สามารถเข้าใจได้ตามธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งเป็นความเห็นในทางปรัชญาว่ามันเป็นเพียงการแบ่งแยกผลประโยชน์ของตนเองมันเป็นการทำลายสังคมหรือก่อให้เกิดประโยชน์ ในมุมมองผลประโยชน์ส่วนตนที่ให้น้ำหนักกับทฤษฏีตลาดเสรีที่สุดนักเศรษฐศาสตร์คลาสสิกที่ไม่เคยสนับสนุนทุนนิยมก็เพราะพวกเขาเชื่อว่าผลประโยชน์ส่วนตนเป็นสิ่งที่ดีทางศีลธรรมที่ทุนนิยมสร้างขึ้น ไม่ว่าที่ไหนก็จะมีการล้อเลียน เสียดสีจากฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง(หรือ การต่อต้านแนวคิดเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนก็ตาม) ต่อแนวคิดดังกล่าว ผลประโยชน์ส่วนตนจะเป็นส่วนที่ “ดี” หรือ “ไม่ดี” ในธรรมชาติของมนุษย์ก็ไม่สำคัญก็เพราะมันก็เป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติที่เราปฏิเสธไม่ได้ เช่นกันกับในมุมมองของจอห์น ล็อค (John locke) ว่า ผลประโยชน์ส่วนตนก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติมนุษย์และเป็นสิ่งที่ดี มันคือสิทธิตามธรรมชาติที่จะกระทำตามเท่าที่การกระทำของคนจะไม่ไปละเมิดคนอื่น
ไม่ว่าการสะสมความมั่งคั่ง หรือ การได้มาซึ่งผลกำไร ทำให้คนมีงาน ล้วนแล้ว เกิดขึ้นในระบบตลาดเสรีทุนนิยม มันจึงจำเป็นว่าหากเราต้องการจะหาระบบที่ดีที่สุดในปัจจุบันและมีประสิทธิภาพที่สุดก็คงไม่พ้นทุนนิยม ที่สามารถรองรับว่ามนุษย์ควรทำงานเพื่ออะไรบางอย่างในชีวิต เพื่อกำไร ความพึงพอใจของตนเอง มันไม่ใช่ความเสียหายหรือการลดทอนว่ามนุษย์เราไม่มีอะไรไปมากกว่าการทำงาน แต่ทุนนิยมคือการเปิดกว้างว่าทุกคนมีเสรีในการทำสิ่งๆหนึ่งได้มากกว่านั้นโดยไม่ถูกบังคับ แต่หากเป็นการยินยอมโดยสมัครใจของมนุษย์ ‘ถ้าคุณไม่ต้องการทำงาน ทุนนิยมไม่เคยบังคับให้ทำ’ หรือ ถ้าคุณต้องการทำงานในที่หนึ่งและขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่ง และ แน่นอนว่าความสูญเสียก็ย่อมมีหรือเกิดขึ้นได้(ว่าคุณอาจไม่ได้งานหรือไม่ได้ถูกคัดเลือก) ความได้เปรียบมันจึงเกิดขึ้นในสังคมตลอด จนความสามารถที่แตกต่าง ประสบการณ์ ทักษะ ความรู้ ดังนั้น ไม่ว่าทุกวันนี้เงินเราที่ได้มาอาจมีไว้เพื่อจับจ่ายใช้สอยในชีวิตและลงทุนมันเพื่อความงอกงามของมันในความเสี่ยงที่คาดหวังกำไร จึงไม่ใช่เรื่องที่แย่แต่อย่างใดอย่างที่กล่าวไปว่า “ผลประโยชน์ส่วนตัวที่สัมพันธ์กับสิ่งใดๆ ก็ล้วนแล้วเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติมนุษย์” มันจึงดำเนินต่อไปได้จนถึงทุกวันนี้ และจะดำเนินแบบนี้ต่อไป…
**อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้ยังจะมีโปรเจคที่ต่อเนื่องกันในบทต่างๆ อย่างเช่น ทุนนิยมตรงกันข้ามกับรัฐนิยมยังไง , การผูกขาดตามธรรมชาติและการผูกขาดโดยรัฐ , ตลาดเสรีช่วยคนจนอย่างไร และ การบอกว่าอะไรเป็นทุนนิยมและไม่ใช่เป็นต้น(รวมไปถึงเรื่องความเหลื่อมล้ำ , ประสิทธิภาพของทุนนิยม) เราจึงยังไม่กล่าวว่าทุนนิยมมันสร้างผลเสียตามทัศนะงานเขียนเชิงวิพากษ์ต่างๆ(โดยเฉพาะแนวคิดที่ไม่เอาทุนนิยมอย่าง สังคมนิยม เป็นต้น) แต่จะเจาะลึกลงในในทางทฤษฏีเศรษฐศาสตร์สำนักออสเตรีย (Austrian school) และงานเขียนของสำนักชิคาโก้ (Chicago school) เพียงแต่ว่าในบทความทุนนิยมคืออะไรจะรวมถึงการประกอบว่ามันมีอะไรในทุนนิยมตามที่ได้เขียนไปข้างต้น และ บทความถัดๆมาจะเป็นการขยายในประเด็นที่เฉพาะเจาะจงกว่าเดิม
Bibliography
Calton, Chris. All Human Beings — Not Just Capitalists — Are Self-Interested. Auburn, AL: Mises institute, 2019.
cheng, marguerita 2020. Capitalism, Investopedia, accessed 14 January 2021, https://www.investopedia.com/terms/c/capitalism.asp.
Ebeling, Richard M. Capitalism and the Misunderstanding of Monopoly. Auburn, AL: Mises institute, 2017.
Ebeling, Richard M. Capitalism and Competition. Auburn, AL: Mises institute, 2017.
Lemieux, Pierre. Self-interest and Capitalism Are Not Synonymous. Carmel, IN: Econlib at Liberty Fund.
https://www.econlib.org/self-interest-and-capitalism-are…/
Mises, Ludwig von. Private Property. Auburn, AL: Mises institute, 2020.
(https://mises.org/library/private-property)
Rothbard, Murray N. Capitalism versus Statism. Auburn, AL: Mises institute, 2009.
Shostak, Frank. Why Profit Is So Important. Auburn, AL: Mises institute, 2017.