การควบคุมราคาว่าจ้างโดยสหภาพแรงงานไม่ใช่เรื่องที่ดี
การควบคุมราคาในตลาดไม่ว่าจะเป็นในเรื่องใดมักจะส่งผลเสียเสมอ กลไกของตลาดเสรีเป็นสิ่งที่รัฐควรจะปล่อยเอาไว้ สำหรับหลาย ๆ คนที่เคยเรียนเศรษฐศาสตร์จุลภาค (microeconomics) แบบพื้นฐานมาแล้ว อาจจะคุ้นเคยกับคอนเซ็ปของราคาขั้นต่ำ (price floor) กับเพดานราคา (price ceiling) ที่ส่งผลให้เกิดการขาดแคลน (ราคาขั้นต่ำ) หรือส่วนเกิน (เพดานราคา) — สองคอนเซ็ปนี้เป็นเรื่องที่เราเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันเมื่อรัฐ หรือกลุ่มทางการเมืองต่าง ๆ วิ่งเต้นให้ราคาของสินค้าต่ำลง ส่งผลให้ในระยะยาวของขาดแคลนตลาด ยกตัวอย่างเช่น การควบคุมราคาหน้ากากอนามัยในยุคโควิด 19 ให้อยู่ที่ 2.50 บาทต่อชิ้น และ กฏหมายบังคับให้ขายส่งผลให้ในระยะยาวเกิดการขาดแคลน และ บิดเบือนราคาตลาดดังที่เกิดขึ้นในระลอกแรกของแพร่ระบาด
(https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/913918) — เช่นเดียวกันในบทความสั้น ๆ นี้เราจะมาพูดถึงการควบคุมราคาว่าจ้างโดยสหภาพแรงงานที่มีผลเสียต่อการจ้างงานในระยะยาว
การควบคุมราคาเป็นเรื่องที่ใครหลาย ๆ คนคาดหวังว่ามันจะส่งผลดี ในที่นี้สหภาพแรงงานก็เช่นกัน พวกเขาคิดว่ามันจะส่งผลดีต่อลูกจ้างแบบภาพรวม — เพราะว่ากลุ่มสหภาพแรงงานคิดว่าการตั้งค่าแรงขั้นต่ำ หรือค่าแรงงานแบบต่อรอง (wage bargaining) สามารถทำให้เกิดการผูกขาดราคาค่าแรงงานในตลาดได้ ทำให้กลุ่มสหภาพแรงงานมองข้ามทุกอย่างไป และ คิดไปเองว่าค่าแรงแบบผูกขาดของพวกเขานั้นสามารถทำให้ลูกจ้างแบบภาพรวมพึงพอใจ และ ทำให้นายจ้างพึงพอใจต่อราคาว่าจ้างแบบใหม่ — การท้าทายระบบตลาดโดยสหภาพแรงงานก็คล้ายกับการผูกขาดทางตลาดโดยรัฐ (ที่ส่งผลเสียในระยะยาว) แต่พวกเขาลืมไปว่าพวกเขาไม่สามารถผูกขาดแรงงานได้ทั้งหมด เนื่องจากแรงงานสามารถขายแรงแลกกับค่าแรงได้อย่างอิสระในตลาดแรงงาน
” … it is clear that while cartels, to be successful, must be economically more efficient in serving the consumer, no such justification can be found for unions. Since it is always the individual laborer who works, and since efficiency in organization comes from management hired for the task, forming unions never improves the productivity of an individual’s work.”
-Murray Rothbard, Man, Economy, and State, with Power and Market, p. 704
“The plain fact is, there is no evidence whatsoever that either unions or minimum wages have made positive contributions to the prosperity of this country.”
-Milton Friedman
กลับกันการมีค่าแรงขั้นต่ำที่สูงเกินกว่าราคาค่าจ้างตลาด (ราคาขั้นต่ำ) ถ้าตามปกติที่เราเข้าใจกันอยู่แล้วนั้นย่อมทำให้นายจ้างมีความสามารถที่จะจ้างงานน้อยลง และ ส่งผลเสียต่อประโยชน์ที่นายจ้างจะได้รับ ผลที่ตามมาในระยะสั้นคือการปลดลูกจ้างบางส่วนออกเพื่อทำให้มีกำไรเข้าธุรกิจเท่าเดิม แต่เอาไปจ่ายค่าแรงที่เพิ่มสำหรับลูกจ้างที่ยังอยู่ แต่ปัญหาสำหรับสหภาพแรงงานมันใหญ่กว่านั้นคือ สหภาพแรงงานคิดว่าพวกเขาสามารถควบคุมราคาจ้างโดยไม่เกิดผลเสียต่อนายจ้างได้ หรือยิ่งไปกว่านั้นถ้าพวกเขาคิดว่าเกิดผลเสียแต่ก็ยังทำ หมายความว่าคนที่ผลประโยชน์จากการควบคุมราคานั้นไม่ใช่ทั้งลูกจ้าง และ นายจ้าง แต่เป็นสหภาพแรงงานที่วิ่งเต้นได้รับผลประโยชน์จากการโยนภาระให้ทั้งลูกจ้าง และ นายจ้างนั่นเอง
เราเรียกการควบคุมค่าจ้างที่ว่าว่าเป็น “การควบคุมราคาว่าจ้างแบบจำกัด” (restrictionist wage rate) — ในกราฟเราจะเห็นได้ชัดถึงราคาที่จุด W ผ่านเส้น W’ ซึ่งเป็นค่าแรงขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างที่อยู่ในกลุ่มสหภาพแรงงาน จะเห็นได้ชัดว่าราคานั้นสูงกว่าราคาตลาด และ ยิ่งไปกว่านั้นคือมันไม่ใช่เพดานราคาแต่เป็นราคาขั้นต่ำ ผลกระทบที่จะตามมาคือตามที่ได้กล่าวไว้ในย่อหน้าข้างต้นคือ การปลดลูกจ้างในระยะสั้น และ การขาดแคลนลูกจ้างในระยะยาว (จากจุด F มาเป็น C) ซึ่งในกรณีที่บริษัทไม่มีกำไรเพิ่มแต่ตัวแปรการผลิต (inputs) นั้นเท่าเดิม จะส่งผลให้บริษัทปิดตัวลง และ ลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในบริษัทนี้นั้นก็จะตกงาน — ในกราฟราคาตลาดคือจุด B แต่เมื่อมีราคาขั้นต่ำที่สูงลิบลิ่วเกิดขึ้น มันจะทำให้อุปทานของแรงงานขยับไปที่จุด E ผลกระทบที่จะตามมาคือจะไม่มีแรงงานอยากทำงานเพื่อให้ได้รับค่าจ้างที่ต่ำกว่า W’ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ลูกจ้างที่โดนปลดออก หรือตกงานเนื่องจากบริษัทปิดตัวลง ก็จะหางานในบริษัทอื่น ๆ ภาคอื่น ๆ ที่ไม่มีสหภาพแรงงานเพื่อให้มีงานทำตามความสามารถงานของตัวเอง หมายความว่ากลุ่มสหภาพแรงงานส่งผลเสียต่อภาครวมของแรงงานในตลาด และ เพิ่มความสำคัญของกลุ่มตัวเองเท่านั้น — ในขณะเดียวกันพวกแรงงานที่ได้รับประโยชน์จากสหภาพแรงงานก็มีความเสี่ยงที่จะถูกโดนเอาออกจากงานเช่นกันถ้าบริษัทเลือกที่จะรับลูกจ้างที่ไม่อยู่ในกลุ่มสหภาพแรงงาน อีกประเด็นก็คือ เมื่อกลุ่มเหล่านี้หาบริษัทที่จะรับเข้าทำงานไม่ได้ก็จะยิ่งเป็นผลเสียทำให้เกิดการไร้งานในระยะยาว เนื่องจากบริษัทที่จะรับการบีบราคาเช่นนี้มีน้อยลง หรือไม่มีเลยในตลาด ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดคือพวกที่สร้างกับคุมสหภาพเหล่านี้ พวกนี้จะได้รับเงินจากสมาชิกแรงงาน และ การกีดกันแรงงานกลุ่มอื่น (exclusive representation) ก็ยิ่งทำให้ได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้นไปอีก
สหภาพแรงงานไม่ได้ส่งผลดีเลยแม้แต่น้อย แต่สร้างผลเสียต่อลูกจ้าง และ นายจ้าง สหภาพแรงงานทำลายการมีส่วนรวมในตลาดผ่านการควบคุมราคาว่าจ้าง และ ให้ประโยชน์ผ่านกลุ่มตัวเองเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ลูกจ้างที่อยู่ในสหภาพแรงงานก็มีความเสี่ยงที่ตกงาน รวมไปถึงการไม่ได้รับประโยชน์จากบอร์ดสหภาพแรงงาน พวกนี้ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด ซึ่งส่งผลให้พวกเขามีพื้นที่ในสังคมอยู่ต่อ เพื่อกระจายอิทธิพล และ แนวความคิดของพวกเขาต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อที่จะได้รับผลประโยชน์เพิ่มอีกเรื่อย ๆ โดยภาระกลับไปอยู่ในมือของนายจ้าง และ ลูกจ้าง — เหตุเหล่านี้ทำให้การมีส่วนร่วมในตลาดยากขึ้น ส่งผลเสียทำให้เกิดการชะลอตัวของตลาดในภาครวม…
Bibliography
Epstein, Richard A. The Decline Of Unions Is Good News. Stanford, CA: Hoover Institution at Stanford University, 2020.
Friedman, Milton. A Conversation On Minimum Wage. LibertyPen, 1980. https://www.youtube.com/watch?v=x-BGi4NIFww.
Galles, Gary. Union Dues and the “Free Rider” Problem. Auburn, AL: Mises Institute, 2017.
Rothbard, Murray. Man, Economy, and State, with Power and Market. Auburn, AL: Mises Institute, 1962.