ข้อความต้นฉบับ https://prachatai.com/journal/2020/11/90491
เป็นที่ทราบกันอย่างแน่ชัดแล้วว่าผู้ชนะการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนใหม่ในปี 2020 นี้ คือตัวแทนจาก พรรคเดโมแครตที่ชื่อ Joe Biden ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินดอลล่าร์แข็งตัวขึ้น และราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลงทันที 10,000 จุด หรือกว่า 100$ ดอลล่าร์สหรัฐ Dow Jones พุ่งขึ้น 600 จุด NASDAQ ปรับตัวลง 280 จุด ดัชนี S&P ปรับตัวลงอีกกว่า 36.9 จุด ส่งผลให้ราคาทองคำโลกทำสถิติปรับตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบไตรมาสสุดท้ายของปี
ราคาทองคำโลกในปีนี้ตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาสที่ 3 จนถึงช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามีความผันผวนเป็นอย่างมาก หลังจากใช้เวลาปรับตัวขึ้นมาในแนวโน้มขาขึ้นเป็นเวลาถึง 5 ปีเต็ม จากราคาเดิมที่ 1,044$ 1,117$ และราคา 1,156$/oz ซึ่งเป็นฐานแนวรับของราคาที่ เกิดขึ้นในปี 2015 ปี 2016 และปี2018 ขึ้นมาสร้างฐานแนวต้านที่บริเวณราคา 2,074$/oz ในเดือนสิงหาคมของปีนี้ ตามทฤษฎีคลื่น (Elliott Wave) แล้ว สามารถมองได้ว่าแนวโน้มขาขึ้นในรอบที่ผ่านมานี้นั้น สร้างรูปแบบราคาตามทฤษฎีคลื่นครบทั้ง 5 คลื่นแล้ว เนื่องจากรูปแบบราคาที่ปรากฎออกมานั้นเข้าเงื่อนไขรูปแบบราคาที่ไม่แสดงรูปแบบราคาของคลื่นลูกที่ 1 และคลื่นลูกที่ 2 แต่ข้ามไปแสดง รูปแบบราคาของคลื่นลูกที่ 3 คลื่นลูกที่ 4 และคลื่นลูกที่ 5 เลย ก่อนจะยืนยันการสิ้นสุดของแนวโน้มราคาในขาขึ้นด้วยแท่งเทียนสีแดงใหญ่ในวันที่ 11 สิงหาคม และวันที่ 9 พฤษจิกายนหลังจากการประกาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาล่าสุด
รูปแบบการเคลื่อนที่ของราคาทองคำในช่วงก่อนถึงปี 2011
ในภาพรวมของดัชนีราคาทองคำรายเดือนนั้น ในช่วงก่อนถึงปี 2011 นั้น จะสังเกตุเห็นได้ว่ามูลค่าราคาทองคำในตลาดโลกนั้นมีการเคลื่อนที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นในลักษณะที่ค่อนข้างรุนแรงมาโดยตลอด ถึงจะแม้จะเกิดวิกฤติสินเชื่อ Subprime ขึ้นในปี 2007 ก็ตาม แต่ราคาทองคำตลาดโลกในขณะนั้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐแล้วก็ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก จนราคาพุ่งขึ้นทำจุดสูงสุดตลอดกาล (All Time High) เพื่อสร้างฐานแนวต้านที่บริเวณราคา 1,918$/oz จึงจะสามารถสร้างแท่งเทียนรูปแบบกลับตัว (Engulf) เพื่อบ่งบอกถึงจุดสิ้นสุดของแนวโน้มขาขึ้นก่อนจะทำสัญญาณกลับตัวลงครั้งใหญ่ในช่วงปี 2011-2012 เพื่อลงมาสร้างฐานแนวรับสำคัญในปี 2015 ที่ราคา 1,044$/oz
แนวโน้มขาขึ้นที่เกิดในช่วงก่อนถึงปี 2011 นั้น ตามทฤษฎีคลื่นแล้วสามารถที่จะมองได้ว่าเป็นรูปแบบราคาของคลื่นลูกที่ 3 ในเงื่อนไขที่ว่าไม่แสดงรูปแบบราคาองคลื่นลูกที่ 1 และ คลื่นลูกที่ 2 เนื่องจากเป็นการเคลื่อนที่ในแนวโน้มขาขึ้นอย่างรุนแรงมาโดยตลอด และการพักตัวของราคาทองคำในช่วงที่เกิดวิกฤติ Subprime นั้นก็มีระยะเวลาที่สั้นมากเกินไปทำให้ไม่สามารถมองได้ว่าเป็นรูปแบบราคาของคลื่นลูกที่ 2
การย่อตัวลงมาสร้างฐานแนวรับในปี 2015 และการพักตัวในรูปแบบ Correction
หลังจากที่ราคามูลค่าทองคำในตลาดโลกพุ่งขึ้นไปสร้างฐานแนวต้านสำคัญที่ราคา 1,918$ ในปี 2011 แล้ว ราคามูลค่าทองคำในตลาดโลกก็สร้างลักษณะการพักตัวในรูปแบบของ Correction ที่เป็นรูปบบการพักตัวที่เกิดขึ้นในคลื่นลูกที่ 2 และคลื่นลูกที่ 4 รวมถึงลักษณะของการพักตัวระยะสั้นระหว่างที่อยู่ในช่วงกระแสแนวโน้มระยะยาว โดยราคามูลค่ารวมทองคำตลาดโลกในขณะนั้นทำสัญญาณกลับตัวลงด้วยแท่งเทียนสีแดงใหญ่เพื่อเริ่มต้นทิศทางแนวโน้มขาลงในภาพรวมมุมมองราคาทั้งรายวัน และรายเดือน ก่อนจะสร้างรูปแบบราคาตามทฤษฎีคลื่นทั้ง 5 ลูก ในแนวโน้มขาลง เพื่อจะสร้างฐานแนวรับสำคัญที่ราคา 1,044 $ ก่อนจะกลับตัวขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาจากภาพรวมมุมมองราคารายเดือนยังสามารถที่จะมองได้ว่า รูปแบบการพักตัวที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นเพียงการพักตัวชั่วคราวในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรืออาจเป็นการพักตัวเพื่อสร้างรูปแบบราคาของคลื่นลูกที่ 4 ก็สามารถจะเป็นไปได้ทั้ง 2 กรณี และโดยปกติแล้วการพักตัวในรูปแบบ Correction จะมีด้วยกันทั้งหมด 3 คลื่น นั่นก็คือคลื่น A คลื่น B และคลื่น C ซึ่งในแต่ละคลื่นก็จะประกอบด้วยรูปแบบของคลื่น Elliott Wave อีก 5 คลื่น แต่ในบางคลื่นอย่างคลื่น B จะมีเพียง 3 คลื่น เท่านั้น แต่ก็มีในบางกรณีที่คลื่น A และคลื่น C มีรูปแบบราคาตามทฤษฎีคลื่น เป็นส่วนประกอบภายในเพียงแค่ 3 คลื่นได้เช่นกัน และในบางครั้งลักษณะการพักตัวในรูปแบบ Correction ก็ประกอบด้วยคลื่น A เพียงคลื่นเดียว ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและสถานการณ์ต่างๆในตลาดว่ามีสภาวการณ์เป็นอย่างไร
การสร้างกลยุทธ์ความน่าจะเป็นในการลงทุนเพื่อสร้างผลกำไรในตลาดราคาทองคำโลก
การลงทุนในตลาดราคาทองคำโลกเพื่อคาดหวังผลตอบแทนที่จะได้รับไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขายทองคำแท่ง การลงทุนในตลาดล่วงหน้า(Future) การลงทุนในตลาดอนุพันธ์ (TFEX) หรือแม้แต่การลงทุนในตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนค่าเงินต่างประเทศ (Forex) มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักลงทุนจะต้องสร้างแผนการลงทุนล่วงหน้าให้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์การทำกำไรในแนวโน้มขาขึ้น (Long/Call/buy) หรือกลยุทธ์การทำกำไรในแนวโน้มขาลง (Short/Put/Sel) ในทิศทางใดก็ตามมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักลงทุนจะต้องวางแผนการลงทุนอย่างรอบคอบ และมีจุดเฝ้าระวังอยู่เสมอ เพื่อจะใช้ในการคำนวณความเสี่ยงที่เกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่นักลงทุนสามารถยอมรับได้ ก่อนจะเปลี่ยนไปใช้แผนการลงทุนในรูปแบบอื่นๆที่ได้สำรองเตรียมไว้ เพื่อนำมาใช้แก้ไขในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
การวางกลยุทธ์ในการลงทุนเพื่อเก็งกำไรราคามูลค่าทองคำตลาดโลกในมุมมองขาขึ้นนั้น เนื่องจากราคาทองคำได้เคลื่อนที่จากจุดต่ำสุดในฐานแนวรับสำคัญที่ราคา 1,044$/oz มาค่อนข้างไกล ดังนั้นจึงไม่ควรคาดหวังการสร้างผลกำไรระยะยาวในแนวโน้มขาขึ้น อีกทั้งยังมีเรื่องของความน่าจะเป็นเกี่ยวกับทฤษฎีคลื่นที่สามารถมองได้ว่าสถานการณ์ราคาทองคำในปัจจุบันนี้นั้นน่าจะอยู่ในช่วงใกล้จุดสิ้นสุดคลื่นลูกที่ 5 หรืออาจจะสิ้นสุดคลื่นลูกที่ 5 ที่ราคา 2,074 $ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ที่ผ่านมานี้ไปแล้วก็เป็นได้ การใช้กลยุทธ์การทำกำไรระยะสั้นในมุมมองขาขึ้นโดยมีจุดเฝ้าระวังที่อยู่ไม่ไกลนักจึงน่าจะเหมาะสมที่สุด
ส่วนมุมมองการลงทุนเพื่อสร้างผลกำไรในทิศทางแนวโน้มขาลงนั้นมีความเป็นไปได้อยู่พอสมควรว่าราคามูลค่าทองคำในตลาดโลกเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐอเมริกาอาจจะปรับตัวเป็นทิศทางแนวโน้มขาลงไปได้ถึงราคาแนวรับเป้าหมายที่บริเวณ 1,670 $ และ 1,446 $/onz แต่ในขณะเดียวกันสำหรับมุมมองแนวโน้มทิศทางราคาในขาลงแล้วก็มีความเสี่ยงที่ราคาจะย่อตัวขึ้นไปสร้างรูปแบบราคาของคลื่นลูกที่ 2 ที่บริเวณราคา 2,016 $ หรือแม้กระทั่งการปรับตัวอย่างรุนแรงขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดตลอดกาล (All Time High) จุดใหม่ เพื่อสร้างรูปแบบราคาของคลื่นลูกที่ 5 ในภาพรวมมุมมองราคาทองคำรายเดือน ก็เป็นไปได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นแล้วนักลงทุนจึงควรระมัดระวังในการลงทุน และกำหนดจุดเฝ้าระวังไว้อยู่เสมอเพื่อใช้ในการแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที